งานด้านโครงสร้าง
งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อัน ได้แก่การลงเสา เข็มและการหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับ โครงสร้าง ของเสาและคาน ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ พื้นและบันได ซึ่งจะต้อง เชื่อมต่อกับ เสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบน เพื่อ ความสะดวก ในการทำงาน และ การลำเลียงวัสดุ ต่อจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ หลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็ก โดย เชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคา อันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้ายของ ตัวบ้าน แล้วก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคา เลยเพื่อทำ หน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝน ให้แก่ตัวบ้าน ซึ่งจะสร้างในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ยังมีงานโครงสร้างของรั้วซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้างของตัวบ้าน ก็ได้แล้วแต่กำลังคนและ ความสะดวก เนื่องจากเป็นส่วนที่แยกจาก ตัวบ้าน แต่ถ้าเป็นบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้องสร้างตัว บ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ใน การจัดวาง และ ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน
ในขั้นตอนของ งานโครงสร้าง นี้มีข้อสังเกตบางอย่าง กล่าวคือ อาจมีงานหรือขั้นตอนอื่น ที่จะต้องทำหรือ เตรียมการใน ช่วงจังหวะนี้ ที่พบเห็นกันบ่อย และถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับบ้านทั่วไป นั่นคือ การฉีดยาป้องกันปลวก ไม่ว่า จะใช้ ระบบการวางท่อน้ำยา หรือใช้ ระบบการฉีดยา ให้ซึมลงไป ในดินโดยตรง จะต้องทำก่อนการทำพื้นชั้นล่างของตัวบ้าน โดยเฉพาะ ระบบการวางท่อน้ำยา ซึ่งจะ ต้องเดินท่อ โดยยึดกับคานคอดิน เพราะหลังจาก ทำพื้นชั้นล่างแล้ว จะไม่สามารถเดินท่อได้เลย ถ้าจะ คิดทำในภายหลัง จะทำได้อย่างมาก ก็เป็น การเจาะพื้นแล้ว ฉีดน้ำยาลงไป บนผิวดินด้างล่าง ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดความเสียหาย ไม่สวยงาม และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
อีกจุดหนึ่ง ที่ต้อง ระวังก็คือ การวางตำแหน่ง และ การเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่ นิยม เดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อ ความสวยงาม ดังนั้นก่อน การเทพื้น จะต้องแน่ ใจว่า การวางแนวท่อ ต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้องกับ ตำแหน่งของก๊อกน้ำ ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การเทพื้น กลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการมุงหลังคาก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องเตรียมการในกรณีที่ต้องการติดตั้ง วัสดุป้องกันความร้อน ใต้กระเบื้องหลังคา ก็จะต้องกำหนดไว้ก่อน และทำไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนของ การมุงหลังคาเลย
งานก่อสร้างตัวบ้าน
งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประต ูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้หากเกรงว่าจะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา
ในกรณีของบ้านที่มีการเดินท่อน้ำ และสายไฟเป็นระบบฝัง การเดินท่อน้ำและท่อร้อยสายไฟในส่วน ที่จะต้องฝังอยู่ภายในผนัง ก็จะต้องทำในช่วงนี้ การวางท่อต่างๆ จะเริ่มทำหลังจาก ที่ก่อผนังด้วยอิฐแล้ว โดย จะทำ การเจียนผนังอิฐ ให้เป็นร่องลึกลงไป เป็นแนวตาม ที่กำหนดเพื่อจะได้วางท่อให้ฝังลงไปในผนังได้ก่อนที่ จะทำ การฉาบแต่งผนัง ฉะนั้นจุดที่ควรระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ ก่อนการฉาบแต่งผนังจะต้องแน่ใจว่าการวาง ท่อต่าง ๆ ทำไว้อย่างถูกต้องเรียบร้อย การวางตำแหน่งของสวิตซ์ไฟ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ การเดินท่อ ภายในผนังเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับแนวท่อที่เดินไว้ หากจะ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การฉาบแต่งผนัง
งานด้านสาธารณูปโภค
งานในส่วนนี้ ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร การเดินสายไฟ และท่อร้อยสายไฟ สำหรับการเดินสายไฟ ระบบฝัง การเดินท่อน้ำประปา และ สายไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำพื้นและผนัง ถ้าการเดินท่อน้ำและสาย ไฟเป็น ระบบเดินลอย คือเดินอยู่บนพื้นและ ภายนอกผนัง จะเริ่มทำได้หลังจาก มีการปูแต่งผิวพื้น และ ฉาบแต่งผนัง เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าการเดินท่อน้ำและสายไฟ เป็นแบบฝัง ก็จะต้องทำก่อน การเทพื้น การปูแต่งผิวพื้น และฉาบแต่งผนัง โดยควรจะมีการ ตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง ในการวางตำแหน่งของท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
งานด้านสุขาภิบาล
งานด้านสุขาภิบาล ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ การวางท่อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้แก่ การติดตั้งถังบำบัดหรือการทำบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งงานในส่วนนี้ จะทำในช่วงไหน ก็ได้แล้วแต่กำลังคน และความสะดวก เนื่องงานเหล่านี้มักเป็นงานที่อยู่ภาย นอกตัวบ้าน แต่จะต้องทำหลังจากเสร็จงาน ด้านฐานราก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากความกระทบกระเทือน จากการทำฐานราก ส่วนในกรณีของบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัดเช่น ทาวเฮาส์ ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตั้งถังบำ บัดหรือวางบ่อเกรอะและบ่อซึม อยู่ใต้พื้นห้องน้ำก็จะต้องทำก่อน การเทพื้นห้องน้ำ และในกรณีที่มีการวาง แนวท่อระบายน้ำ ไว้ใกล้กับ แนวรั้ว ก็ต้องทำหลังจาก การทำฐานราก ของรั้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ ให้ท่อระบายน้ำชำรุด จากการทำฐานรากของรั้ว
งานตกแต่ง
งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว
การเรียงลำดับขั้นตอน ในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กัน ไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของ กำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจาก งานบางขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมี ลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้ง การเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือ ฝ้าเพดาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนัง จะต้องทำหลังจาก การเดินท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในส่วนที่ฝัง อยู่ภายใต้พื้น พื้น และภายในผนัง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งดวงโคมจะต้องทำหลังจากการบุฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานตกแต่งเพิ่มเติม ในส่วนท้ายอีก ซึ่งอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และมักจะไม่รวมอยู่
ในขั้นตอนการปลูก สร้างบ้าน เช่น การติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด การติดตั้งผ้าม่าน การจัดสวน ฯลฯ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้
จากตัวอย่าง ที่ยกมาตั้งแต่ต้นจะสังเกตเห็นว่างานบางขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้น การจัดลำดับขั้น ตอนและจังหวะเวลา ในการทำงาน อาจสามารถยึดหยุ่นได้โดยไม่ส่งผลเสียหายแต่ประการใด ในขณะที่งาน บางขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีการ จัดลำดับขั้นตอนและจังหวะเวลาในการทำให้เหมาะสม รวมทั้งการวางแผน การเตรียมการ และการประสานงานต่าง ๆ จะต้องกระทำ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลงาน ที่ออกมามี ความถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ เพราะความผิดพลาดบกพร่อง ในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใดก็ตาม โดยเฉพาะขั้นตอนต้น ๆ ย่อมส่งผลเสียหายไปถึงขั้นตอนถัดไปด้วย ยิ่งถ้าปล่อยให้ผิดพลาดล่วงเลยไป การแก้ไขในภายหลังก็ยิ่งกระทำได้ลำบากยิ่งขึ้น จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555
โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ
ความเป็นไปเป็นมาของ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งตอนผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับพระราชทานชื่อนี้ ผมจึงชอบเรียกง่ายๆว่า “ สนามบินหนองงูเห่า ” นี่เป็นหนังเรื่องยาว เรื่องราวเกิดขึ้นก่อนผมมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกว่า 30 ปี เสียอีก และในที่สุดการตัดสินใจเรื่องสนามบินหนองงูเห่า มาอยู่บนบ่าท่านนายกชวน 1 ที่ต้องตัดสินใจอนุมัติงบประมาณก้อนโตถึง 120,000 ล้านบาท สำหรับโครงการนี้ ผมจะย่อเรื่องสั้น ๆ พอทราบเหตุที่ต้องสร้างสนามบินหนองงูเห่าดังนี้ และเพียงเพื่อให้เห็นว่ารัฐบาลชวนมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการก่อสร้างสนามบิน สุวรรณภูมิ
ราว ๆ กลางปี พ . ศ . 2500 ผมยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยม ตอนนั้นทหารปกครองบ้านเมือง ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคจอมพลถนอม กิติขจร ในสมัยนั้นนักยุทธศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหาร ท่านเหล่านี้มองไกลมีวิสัยทัศน์ มองว่าประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพ ฯ นั้นตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะกับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (Air Hub of Southeast Asia) นักยุทธศาสตร์สมัยกึ่งพุทธกาล ( ประมาณปี 2500 เขามักเรียกช่วงนั้นว่ากึ่งพุทธกาล ) จึงมองในอนาคตว่าไม่นานสนามบินดอนเมืองคงจะขยายอีกไม่ได้มากเพราะเป็นฐานทัพอากาศ ฉะนั้นรัฐบาลยุด พ . ศ . 2500 จึงตัดสินใจเวนคืนที่ดินหนองงูเห่าไว้เพื่อสร้างสนามบินให้เป็นท่าอากาศยานกรุงเทพฯ แห่งที่ 2 (Second Bangkok International Airport, SBIA) เนื้อที่ดินที่เวนคืนนั้นมีขนาด 4 คูณ 8 ตารางกิโลเมตร โดยประมาณ ที่ตั้งหนองงูเห่าอยู่ห่างจากสนามบินดอนเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 25 กม . สมัยโน้นก็เรียกว่าอยู่นอกเมืองเพราะห่างตัวเมืองจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 25 กม . ในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิติขจร มีดำริจะสร้างสนามบินหนองงูเห่า ( สนามบินดอนเมืองเป็นฐานทัพอากาศ ) มีบริษัทต่างชาติชื่อว่า บริษัทนอร์ทรอป เสนอตัวมาสร้างสนามบินหนองงูเห่าให้ราคาประมาณ 3,000 กว่าล้านบาทในขณะนั้น แต่ก็ไม่ได้สร้างเพราะนักศึกษาในยุคนั้นต่อต้านการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า จริงๆ แล้วนักศึกษาต่อต้านจอมพลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิติขจร เสียล่ะมากกว่าจนพลอยเป็นผลทำให้ไม่ได้สร้างสนามบินหนองงูเห่า
รัฐบาลต่อ ๆ มาก็พยายามเคาะฝุ่น พยายามจะสร้างสนามบินแห่งใหม่อีกหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ บางรายจะไปสร้างแถวๆ กำแพงแสนก็มี แต่ก็ชวดที่จะสร้างมาเรื่อยด้วยเหตุผลที่ผมไม่ขออธิบายว่าเพราะอะไร
เอาเป็นว่าสนามบินหนองงูเห่าก็เหมือนงูเห่า ขู่ฝ่อ ๆ มาเกือบ 35 ปี แต่งูไม่ฉกสักที หลังจากมีดำริจะสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ก็ไม่ได้สร้างสักที จนกระทั่ง ครม . ในสมัยรัฐบาลท่านอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ . ศ .2534 อนุมัติให้ดำเนินการโครงการท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 2 และให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการท่าอากาศยานกรุงเทพ ฯ แห่งที่ 2 โดยมีรัฐมนตรีว่าการทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการได้มีมติให้ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท .) จัดจ้าง บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาทั่วไปเป็นผู้วางแผนและออกแบบเบื้องต้น ตลอดจนช่วยบริหารการก่อสร้างและประสานงานด้านต่างๆของโครงการ
รัฐบาลชวน 1 มารับช่วงต่อจากรัฐบาลท่านอานันท์ ท่านนายกชวนและผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการท่าอากาศยานนานาชาติ หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ต้องมาเกี่ยวข้องโดยตำแหน่งและในจังหวะเวลาที่ต่อเนื่องกัน
อันทีจริงตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมมีท่านรัฐมนตรีช่วย ท่านทวี ไกรคุปต์ ดูแลด้านการขนส่งทางอากาศ ด้านสนามบิน เพราะผมเห็นท่านเป็นวิศวกร และท่านมีส่วนช่วยผมเป็นอย่างมากจนได้เริ่มต้นสนามบินหนองงูเห่า
มติ ครม . เมื่อ 7 พฤษภาคม พ . ศ .2534 ทำให้ผมต้องไปดูสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 1 ของประเทศไทยค่อนข้างบ่อย ในช่วงปี 2535 เศรษฐกิจไทยค่อนข้างจะรุ่งเรืองเฟืองฟู ตอนนั้นสนามบินดอนเมืองมีสภาพเป็นอย่างนี้
สนามบินดอนเมืองแออัดมาก ขยายแล้วขยายอีกให้รับผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี เดี๋ยวเดียวก็เต็ม ขยายอีกเป็นขนาด 35 ล้านคนต่อปีก็เต็มอีก จะขยายอีกก็ต้องเบียดทหารอากาศให้พ้นจากดอนเมือง สรุปว่าสนามบินรับผู้โดยสารเต็มแปล้ ล้นกว่านั้นไม่ได้ การจราจรทางอากาศ เครื่องบินต้องรอคิว Take off and Landing ก็นักยุทธศาสตร์รุ่นก่อนเขามองว่ากรุงเทพฯคือ “Air hub” ของภูมิภาคนี้ เครื่องบินจะไป ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา ก็แวะกรุงเทพฯ จะไป ยุโรป ก็แวะกรุงเทพฯ ลาว เขมร เพื่อนบ้านก็มาใช้สนามบินดอนเมือง
ปี พ . ศ .2535 ในขณะนั้นกรุงเทพขยายตัวขยายเมือง จนสนามบินดอนเมืองอยู่ในเมืองที่โอบล้อมด้วยตึกรามบ้านช่อง ตามหลักสนามบินควรอยู่นอกเมืองห่างไปสัก 20- 30 กม.
เครื่องบิน Take off and Landing จำนวนมาก อาจจะอันตราย และรบกวนชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วย เหตุผลทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้วทำให้ผมต้องตัดสินใจนำเสนอ ครม . ของท่านนายกชวน 1 ให้ตัดสินใจเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ
จำเป็นต้องรีบดำเนินโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ฯ แห่งที่ 2 ด้วยงบประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเสนอมา โดยท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคนต่อปี
เพื่อให้มีงบประมาณไปอพยพโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เวนคืนหนองงูเห่า ( 4 คูณ 8 กม . ) ผมก็ขออนุมัติ ครม . เพื่อยกเว้นไม่ให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท .) นำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลัง เป็นเวลา 2 ปี แต่ให้นำเงินก้อนนี้ไปใช้ในการอพยพประชาชนออกจากที่ดินเวนคืน เพื่อเตรียมการก่อสร้างสนามบิน หนองงูเห่า
ครม. ของท่านนายกชวน 1 อนุมัติทั้ง 2 เรื่อง การเริ่มโครงการจริง ๆ คือเริ่มอพยพผู้คนออกจากเขตเวนคืน การออกแบบก่อสร้างก็เริ่มจริง ๆ ในปี พ . ศ .2536 สมัยรัฐบาลท่านนายกชวน 1 ผมเองก็มีภาระไปยกมือไหว้ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือน ทำเรือกสวนไร่นา ทำบ่อปลาอยู่บริเวณหนองงูเห่า ขอร้องให้เขาย้ายออกไป ซึ่งกว่าจะอพยพคนออกหมดก็ใช้เวลา 2 ปี หลังจากนั้นจึงมีการถมดินถมทรายในสมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมท่านที่ต่อ ๆ จากผมไปเรื่อย ๆ สำหรับผมก็จะรู้เรื่องสนามบินหนองงูเห่าในช่วงต้น ๆ คือขั้นอพยพคนเท่านั้น การออกแบบสนามบินร่วมไปถึงขั้นต้นการก่อสร้าง การถมทราย ก็ไม่รู้รายละเอียดอะไรเพราะผมพ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว
ผมพอมีส่วนในสนามบินหนองงูเห่าเท่านี้หลังจากนั้นสภาพการเมืองมีมาแล้วก็มีไป ผมก็เป็นสามัญชน เป็น ส . ส . ธรรมดา พ้นตำแหน่งการเป็นรัฐมนตรี ท่านที่เป็นรัฐมนตรีต่อ ๆ มาอีกหลายท่านก็สานต่องานกันไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ผมเขียนเรื่องนี้อยู่ ท่านรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็มีส่วนสานงานต่อจากผมสารพัดเรื่อง ถนน 4 เลน รถไฟสี่รางทางคู่ สนามบิน ฯลฯ สานต่อกันไป ผมก็ได้แต่รับรู้เรื่องสนามบินสุวรรณภูมิจากข่าว ดีบ้าง เลวบ้าง ที่เจ็บใจคือข่าวโกงฉาวโฉ่ไปทั่วโลก
ผมเคยรำพึงกับตนเองว่า สนามบินนี้เป็นศูนย์กลางอะไรกันแน่ ? หรือว่าเป็นศูนย์กลางการคอรัปชั่นบันลือโลก ตอนผมเสนอให้ท่านชวน อนุมัติเงิน 120,000 ล้านบาทเพื่อเป็นงบในการสร้างสนามบิน ถ้าผมหยั่งรู้ว่าเขาจะโกงกันขนาดนี้ หากินกับสนามบินกันอย่างน่ารังเกียจน่าชังอย่างนี้ ผมควรเสนอท่านนายกชวนให้อนุมัติการก่อสร้างหรือไม่ หรือถ้าท่านนายกชวน ท่านหยั่งรู้ว่าเขาจะโกงกินกันขนาดนี้ ท่านจะอนุมัติ เงินจำนวน 120,000 ล้านบาท หรือไม่ ? ชักสงสัย !!!
ต่อ ๆ มาในรัฐบาลชวน 1 ท่านเห็นว่าโครงการก่อสร้างสนามบินหนองหูเง่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รัฐบาลชวน 1 จึงมีคำสั่งให้การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างสนามบินดำเนินโดยคณะกรรมการโดยมีท่านรองนายก ศุภชัย พาณิชภักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมการ ( แต่อย่างไรกระทรวงคมนาคมก็ยังเป็นพระเอกในเรื่องนี้อยู่ )
เรื่องสนามบินหนองงูเห่า เล่าสู่กันฟังเพียงเท่านี้น่าจะพอ ผมต้องการชี้ประเด็นที่รัฐบาลชวน 1 มีส่วนในการตัดสินใจอนุมัติงบ 120,000 ล้านบาท และความจุสนามบิน 100 ล้าน คนต่อปีเป็นประการสำคัญ
ราว ๆ กลางปี พ . ศ . 2500 ผมยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยม ตอนนั้นทหารปกครองบ้านเมือง ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคจอมพลถนอม กิติขจร ในสมัยนั้นนักยุทธศาสตร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหาร ท่านเหล่านี้มองไกลมีวิสัยทัศน์ มองว่าประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพ ฯ นั้นตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะกับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (Air Hub of Southeast Asia) นักยุทธศาสตร์สมัยกึ่งพุทธกาล ( ประมาณปี 2500 เขามักเรียกช่วงนั้นว่ากึ่งพุทธกาล ) จึงมองในอนาคตว่าไม่นานสนามบินดอนเมืองคงจะขยายอีกไม่ได้มากเพราะเป็นฐานทัพอากาศ ฉะนั้นรัฐบาลยุด พ . ศ . 2500 จึงตัดสินใจเวนคืนที่ดินหนองงูเห่าไว้เพื่อสร้างสนามบินให้เป็นท่าอากาศยานกรุงเทพฯ แห่งที่ 2 (Second Bangkok International Airport, SBIA) เนื้อที่ดินที่เวนคืนนั้นมีขนาด 4 คูณ 8 ตารางกิโลเมตร โดยประมาณ ที่ตั้งหนองงูเห่าอยู่ห่างจากสนามบินดอนเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 25 กม . สมัยโน้นก็เรียกว่าอยู่นอกเมืองเพราะห่างตัวเมืองจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 25 กม . ในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิติขจร มีดำริจะสร้างสนามบินหนองงูเห่า ( สนามบินดอนเมืองเป็นฐานทัพอากาศ ) มีบริษัทต่างชาติชื่อว่า บริษัทนอร์ทรอป เสนอตัวมาสร้างสนามบินหนองงูเห่าให้ราคาประมาณ 3,000 กว่าล้านบาทในขณะนั้น แต่ก็ไม่ได้สร้างเพราะนักศึกษาในยุคนั้นต่อต้านการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า จริงๆ แล้วนักศึกษาต่อต้านจอมพลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิติขจร เสียล่ะมากกว่าจนพลอยเป็นผลทำให้ไม่ได้สร้างสนามบินหนองงูเห่า
รัฐบาลต่อ ๆ มาก็พยายามเคาะฝุ่น พยายามจะสร้างสนามบินแห่งใหม่อีกหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ บางรายจะไปสร้างแถวๆ กำแพงแสนก็มี แต่ก็ชวดที่จะสร้างมาเรื่อยด้วยเหตุผลที่ผมไม่ขออธิบายว่าเพราะอะไร
เอาเป็นว่าสนามบินหนองงูเห่าก็เหมือนงูเห่า ขู่ฝ่อ ๆ มาเกือบ 35 ปี แต่งูไม่ฉกสักที หลังจากมีดำริจะสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ก็ไม่ได้สร้างสักที จนกระทั่ง ครม . ในสมัยรัฐบาลท่านอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ . ศ .2534 อนุมัติให้ดำเนินการโครงการท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 2 และให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการท่าอากาศยานกรุงเทพ ฯ แห่งที่ 2 โดยมีรัฐมนตรีว่าการทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการได้มีมติให้ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท .) จัดจ้าง บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาทั่วไปเป็นผู้วางแผนและออกแบบเบื้องต้น ตลอดจนช่วยบริหารการก่อสร้างและประสานงานด้านต่างๆของโครงการ
รัฐบาลชวน 1 มารับช่วงต่อจากรัฐบาลท่านอานันท์ ท่านนายกชวนและผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการท่าอากาศยานนานาชาติ หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ต้องมาเกี่ยวข้องโดยตำแหน่งและในจังหวะเวลาที่ต่อเนื่องกัน
อันทีจริงตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมมีท่านรัฐมนตรีช่วย ท่านทวี ไกรคุปต์ ดูแลด้านการขนส่งทางอากาศ ด้านสนามบิน เพราะผมเห็นท่านเป็นวิศวกร และท่านมีส่วนช่วยผมเป็นอย่างมากจนได้เริ่มต้นสนามบินหนองงูเห่า
มติ ครม . เมื่อ 7 พฤษภาคม พ . ศ .2534 ทำให้ผมต้องไปดูสนามบินดอนเมืองซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลแห่งที่ 1 ของประเทศไทยค่อนข้างบ่อย ในช่วงปี 2535 เศรษฐกิจไทยค่อนข้างจะรุ่งเรืองเฟืองฟู ตอนนั้นสนามบินดอนเมืองมีสภาพเป็นอย่างนี้
สนามบินดอนเมืองแออัดมาก ขยายแล้วขยายอีกให้รับผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี เดี๋ยวเดียวก็เต็ม ขยายอีกเป็นขนาด 35 ล้านคนต่อปีก็เต็มอีก จะขยายอีกก็ต้องเบียดทหารอากาศให้พ้นจากดอนเมือง สรุปว่าสนามบินรับผู้โดยสารเต็มแปล้ ล้นกว่านั้นไม่ได้ การจราจรทางอากาศ เครื่องบินต้องรอคิว Take off and Landing ก็นักยุทธศาสตร์รุ่นก่อนเขามองว่ากรุงเทพฯคือ “Air hub” ของภูมิภาคนี้ เครื่องบินจะไป ญี่ปุ่น เกาหลี อเมริกา ก็แวะกรุงเทพฯ จะไป ยุโรป ก็แวะกรุงเทพฯ ลาว เขมร เพื่อนบ้านก็มาใช้สนามบินดอนเมือง
ปี พ . ศ .2535 ในขณะนั้นกรุงเทพขยายตัวขยายเมือง จนสนามบินดอนเมืองอยู่ในเมืองที่โอบล้อมด้วยตึกรามบ้านช่อง ตามหลักสนามบินควรอยู่นอกเมืองห่างไปสัก 20- 30 กม.
เครื่องบิน Take off and Landing จำนวนมาก อาจจะอันตราย และรบกวนชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วย เหตุผลทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้วทำให้ผมต้องตัดสินใจนำเสนอ ครม . ของท่านนายกชวน 1 ให้ตัดสินใจเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ
จำเป็นต้องรีบดำเนินโครงการท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ ฯ แห่งที่ 2 ด้วยงบประมาณ 120,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเสนอมา โดยท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 100 ล้านคนต่อปี
เพื่อให้มีงบประมาณไปอพยพโยกย้ายประชาชนในพื้นที่เวนคืนหนองงูเห่า ( 4 คูณ 8 กม . ) ผมก็ขออนุมัติ ครม . เพื่อยกเว้นไม่ให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( ทอท .) นำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลัง เป็นเวลา 2 ปี แต่ให้นำเงินก้อนนี้ไปใช้ในการอพยพประชาชนออกจากที่ดินเวนคืน เพื่อเตรียมการก่อสร้างสนามบิน หนองงูเห่า
ครม. ของท่านนายกชวน 1 อนุมัติทั้ง 2 เรื่อง การเริ่มโครงการจริง ๆ คือเริ่มอพยพผู้คนออกจากเขตเวนคืน การออกแบบก่อสร้างก็เริ่มจริง ๆ ในปี พ . ศ .2536 สมัยรัฐบาลท่านนายกชวน 1 ผมเองก็มีภาระไปยกมือไหว้ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือน ทำเรือกสวนไร่นา ทำบ่อปลาอยู่บริเวณหนองงูเห่า ขอร้องให้เขาย้ายออกไป ซึ่งกว่าจะอพยพคนออกหมดก็ใช้เวลา 2 ปี หลังจากนั้นจึงมีการถมดินถมทรายในสมัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมท่านที่ต่อ ๆ จากผมไปเรื่อย ๆ สำหรับผมก็จะรู้เรื่องสนามบินหนองงูเห่าในช่วงต้น ๆ คือขั้นอพยพคนเท่านั้น การออกแบบสนามบินร่วมไปถึงขั้นต้นการก่อสร้าง การถมทราย ก็ไม่รู้รายละเอียดอะไรเพราะผมพ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้ว
ผมพอมีส่วนในสนามบินหนองงูเห่าเท่านี้หลังจากนั้นสภาพการเมืองมีมาแล้วก็มีไป ผมก็เป็นสามัญชน เป็น ส . ส . ธรรมดา พ้นตำแหน่งการเป็นรัฐมนตรี ท่านที่เป็นรัฐมนตรีต่อ ๆ มาอีกหลายท่านก็สานต่องานกันไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ผมเขียนเรื่องนี้อยู่ ท่านรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็มีส่วนสานงานต่อจากผมสารพัดเรื่อง ถนน 4 เลน รถไฟสี่รางทางคู่ สนามบิน ฯลฯ สานต่อกันไป ผมก็ได้แต่รับรู้เรื่องสนามบินสุวรรณภูมิจากข่าว ดีบ้าง เลวบ้าง ที่เจ็บใจคือข่าวโกงฉาวโฉ่ไปทั่วโลก
ผมเคยรำพึงกับตนเองว่า สนามบินนี้เป็นศูนย์กลางอะไรกันแน่ ? หรือว่าเป็นศูนย์กลางการคอรัปชั่นบันลือโลก ตอนผมเสนอให้ท่านชวน อนุมัติเงิน 120,000 ล้านบาทเพื่อเป็นงบในการสร้างสนามบิน ถ้าผมหยั่งรู้ว่าเขาจะโกงกันขนาดนี้ หากินกับสนามบินกันอย่างน่ารังเกียจน่าชังอย่างนี้ ผมควรเสนอท่านนายกชวนให้อนุมัติการก่อสร้างหรือไม่ หรือถ้าท่านนายกชวน ท่านหยั่งรู้ว่าเขาจะโกงกินกันขนาดนี้ ท่านจะอนุมัติ เงินจำนวน 120,000 ล้านบาท หรือไม่ ? ชักสงสัย !!!
ต่อ ๆ มาในรัฐบาลชวน 1 ท่านเห็นว่าโครงการก่อสร้างสนามบินหนองหูเง่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รัฐบาลชวน 1 จึงมีคำสั่งให้การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างสนามบินดำเนินโดยคณะกรรมการโดยมีท่านรองนายก ศุภชัย พาณิชภักดิ์ เป็นประธานคณะกรรมการ ( แต่อย่างไรกระทรวงคมนาคมก็ยังเป็นพระเอกในเรื่องนี้อยู่ )
เรื่องสนามบินหนองงูเห่า เล่าสู่กันฟังเพียงเท่านี้น่าจะพอ ผมต้องการชี้ประเด็นที่รัฐบาลชวน 1 มีส่วนในการตัดสินใจอนุมัติงบ 120,000 ล้านบาท และความจุสนามบิน 100 ล้าน คนต่อปีเป็นประการสำคัญ
ตึกที่สูงที่สุดในโลก
10 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดในโลก
1. เบิร์จดูไบ ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สูง 818 เมตร 162 ชั้น
2. ไทนเป 101 ไทเป ประเทศไต้หวัน สูง 509 เมตร 101 ชั้น
3. เซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ เชี่ยงไฮ้ ประเทศจีน สูง 492 เมตร 101 ชั้น
4. อินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ฮ่องกง จีน สูง 483 เมตร 118 ชั้น
5- 6. เปโตรนาส กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สูง 452 เมตร 88 ชั้น
7. หนานจิงกรีนแลนด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ หนางจิง จีน สูง 450 เมตร 66 ชั้น
8. วิลลิสทาวเวอร์ ชิคาโก อเมริกา สูง 442 เมตร 108 ชั้น
9. กว่างโจวเวสต์ กว่างโจว จีน สูง 438 เมตร 103 ชั้น
10. จินเหมาทาวเวอร์ เซี่ยงไฮ้ จีน สูง 421 เมตร 88 ชั้น
ส่วนใบหยก 2 กรุงเทพฯ ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 47 สูง 304 เมตร 85 ชั้น
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://www.konmun.com/Story/10-id10306.aspx
1. เบิร์จดูไบ ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สูง 818 เมตร 162 ชั้น
2. ไทนเป 101 ไทเป ประเทศไต้หวัน สูง 509 เมตร 101 ชั้น
3. เซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ เชี่ยงไฮ้ ประเทศจีน สูง 492 เมตร 101 ชั้น
4. อินเตอร์เนชันแนลคอมเมิร์ซเซ็นเตอร์ ฮ่องกง จีน สูง 483 เมตร 118 ชั้น
5- 6. เปโตรนาส กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สูง 452 เมตร 88 ชั้น
7. หนานจิงกรีนแลนด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ หนางจิง จีน สูง 450 เมตร 66 ชั้น
8. วิลลิสทาวเวอร์ ชิคาโก อเมริกา สูง 442 เมตร 108 ชั้น
9. กว่างโจวเวสต์ กว่างโจว จีน สูง 438 เมตร 103 ชั้น
10. จินเหมาทาวเวอร์ เซี่ยงไฮ้ จีน สูง 421 เมตร 88 ชั้น
ส่วนใบหยก 2 กรุงเทพฯ ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 47 สูง 304 เมตร 85 ชั้น
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://www.konmun.com/Story/10-id10306.aspx
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)