Pre-Casting Concrete work
สวัสดีครับ ก่อนที่ผมจะพูดเรื่อง pre-casting concrete ผมขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ pre-casting concrete ก่อนนะครับ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรคงไม่อธิบายลึกซึ้งมากนะครับ สำหรับ คำว่า “precast” คนไทยเรียก “พรีคาส” หรือ “พรีแคส” จะเรียกอย่างไรก็แล้วแ่ต่ เป็นการหล่อคอนกรีตชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารกับที่คือไม่ได้หล่อที่ตัวอาคารโครงสร้างแต่เราหล่อมันอยู่ข้างล่างหรือที่โรงงาน เพื่อจะทำการดึงเหล็กเส้นที่เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตก่อนที่จะมีการเทคอนกรีตนั่นเอง
เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ตามปกติถ้าเป็นเหล็กโครงสร้างทั่วไปก็จะใช้เหล็กกลมหรือเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน
ใช้ขนาดเท่าไร จำนวนเท่าไร นี้ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณและวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานของผู้คำนวณแต่ละท่าน แต่สำหรับ pre-casting concrete นี้เหล็กเสริมหลักในคอนกรีตจะเปลี่ยนมาใช้เป็นลวดเหล็กอัดแรง pc wire หรือที่เรียกกันว่า”เหล็กเป็น”นั้นเอง มาต่อกันที่หลังจากเทคอนกรีตสำหรับทำ pre-casting concrete กันต่อนะครับ ในเมื่อคอนกรีตแข็งตัวสามารถรับกำลังได้แล้วจะทำการตัดลวดเหล็กอัดแรงที่ปลายชิ้นส่วนที่เราทำนี่เอง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า pre-casting concrete นั่นเอง แปลตรงตัวเลย
ประโยชน์ของการทำ pre-casting concrete
ก็มีหลายข้อด้วยกันเช่น ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องทำแบบที่โครงสร้างอาคาร หล่อกับที่ข้างล่างสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายเรื่องนั่งร้าน ไม้แบบ แรงงาน เหล็กเส้น ติดตั้งง่าย เพราะเมื่อทำเสร็จก็เพียงแค่ยกขึ้นวางและเชื่อมแน่น ทำการเกร้าติ้งก็คือการเทคอนกรีตปิดรอยต่อของโครงอาคารให้เป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง จะเห็นว่าสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายประหยัดขึ้นมากและสามารถทำได้เกือบทุกชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารเริ่มตั้งแต่เหนือฐานรากขึ้นมาึ เช่น Column precast (เสาพรีคาส) Precast Ground beam (คานคอดิน) Slab precast (พื้น หรือแผ่นพื้นสำเร็จ) Stair precast (บันได) Wall precast (ผนัง) จนกระทั่งถึงคานรัดรอบเสารับหลังคาหรืออะเส (Roof beam precast) เรียกว่าทำชิ้นส่วน precast ได้หมดทั้งโครงสร้างอาคารหลักส่วนงาน finishing ตกแต่งก็เป็นเรื่องของความสวยงามของอาคารต่อไป
ดังนั้น ผู้รับเหมารุ่นใหม่ส่วนใหญ่หันใช้งาน pre-casting concrete กันมากขึ้นนั่นเอง คงพอเข้าใจคร่าวๆกันแล้ว(ดูจากรูปน่าจะเข้าใจมากกว่าผมอธิบายอีกนะครับเกี่ยวกับ precasting concrete)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น