วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สวยๆๆ


สวนพฤกษศาสตร์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมืองไตชุง ไต้หวัน
National Museum of Natural Science Botanical Garden, Taichung, Taiwan


ประวัติความเป็นมา

สวนพฤกษศาสตร์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมืองไตชุง เป็นหนึ่งในหกกิจกรรมหลักของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ร่วมกับ Imax Theater, Science Center, Life Science, Chinese Science hall และ Global Environment Hall เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไตชุง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเมืองไตชุงเริ่มวางแผนการสร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในส่วนของสวนพฤกษศาสตร์เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 1999 และเรียกว่า Botanical park มีพรรณพืชเขตร้อนแสดงประมาณ 1200 ตัวอย่าง และเปลี่ยนเป็นการดำเนินการในรูปแบบสวนพฤกษศาสตร์ในปี ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย การแสดงนิทรรศการ และการอนุรักษด้านพรรณพืชพื้นเมืองของไต้หวัน โดยเฉพาะพืชพรรณในเขตร้อนระดับต่ำ (lowlands)

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

พื้นที่สวนพฤกษศาสตร์มีเนื้อที่ประมาณ 4.5 เอเคอร์ ตั้งอยู่บนที่ราบฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ และแบ่งพื้นที่แสดงพรรณพืชจากพื้นที่ต่างๆ ในไต้หวัน เช่น northern lowlands, southern lowlands และ monsoon rainforest ซึ่งแบ่งตามภูมิศาสตร์พืชพรรณของไต้หวัน โดยมีเทือกเขา Miaoli's Huoyian mountain เป็นเส้นแบ่งทางตอนเหนืิอกับทางตอนใต้ ดังนั้น northern lowlands จะมีการแสดงพรรณพืชที่ได้รับอิทธิพลภูมิอากาศแบบมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุ่มชื้นและปริมาณน้ำฝนปานกลาง southern lowlands ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กสิกรรม ส่วน monsoon rainforest จะแสดงพรรณพืชที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนต่างกันชัดเจน พรรณพืชมีความหนาแน่นมากกว่าส่วนอื่นๆ

จุดเด่นและพรรณไม้ที่น่าสนใจ

นอกจากพื้นที่แสดงพรรณพืชจากส่วนต่างๆ ของไต้หวันแล้ว ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีกได้แก่

  • Tropical Rain Forest Greenhouse เป็นเรือนกระจกขนาดใหญ่ ที่เป็นจุดเด่นที่สุดในสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งภายในแยกออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หอคอยต้นไม, man and plants, tropical flowering trees, orchids, palm slopes เป็นต้น เป็นที่แสดงพรรณพืชจากเขตร้อนประมาณ 300 ชนิด นอกจากนี้ยังมีตู้ปลาพิรันญ่า และปลาขนาดใหญ่ที่สุดจากแม่น้ำอเมซอนแสดงด้วย
  • Lianas & Succulents ที่แสดงไม้เถาและพืชอวบน้ำของไต้หวัน โดยเฉพาะพืชวงศ์ถั่ว Leguminosae) เช่น Rusty-leaf mucuna, long-globose fruit caesalpinia และ Taiwan millettia เป็นต้น
  • Nursery & Seed Bank อยู่ติดกับศูนย์วิจัยและการศึกษา เพื่อผลิตและอนุบาลพรรณพืชต่างๆ ที่ใช้แสดงในสวนพฤกษศาสตร์ และยังเป็นเรือนกล้วยไม้ขนาดใหญ่ มีมากกว่า 1000 ชนิด และยังเป็นที่เพาะมะพร้่าวแฝด (double coconut) สำหรับส่วนของ Seed Bank เป็นที่รวบรวมเมล็ดพรรณพืชในสวนพฤกษศาสตร์เพื่อการขยายพันธุ์ และแลกเปลี่ยนกับสวนพฤกษศาสตร์แห่งอื่นๆ ทั่วโลก

สถานที่ติดต่อ

Address: No. 1, Guancian Rd., North District, Taichung City, Taiwan, R.O.C.
Tel: 04-23226940
website: http://www.nmns.edu.tw/index_eng.htm

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

สะพานมังกร สะพานแปลกๆสวยๆ สุดอลังการที่จีน





สะพานล่องหน ลับ ลวง พราง


สะพานที่เห็นในภาพนี้เป็นสะพานข้ามคูที่ล้อมรอบป้อมปราการ ในสมัยศตวรรษที่ 17 ที่นักออกแบบได้ทำการออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม

รายละเอียด
สะพานที่เห็นนี้เป็นสะพานสำหรับข้ามคูน้ำรอบๆป้อมปราการFort de Roovere ในศตวรรษที่ 17 ที่ตั้งอยู่ที่เมืองHalsteren ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยสะพานดั่งเดิมนั้นไม่มีอยู่แล้ว ชำรุดทรุดทรามลง นักออกแบบจริงคิดว่าทำไมเราต้องมายึดติดสร้างสะพานแบบเดิมๆ ทีสร้างเหนือคูน้ำกันอยู่นั้น
แทนที่ด้วยสะพานที่มองไม่เห็น โดยท้องสะพานนั่งอยู่บนพื้นคูน้ำ โดยมีมีราวสะพานอยู่สูงกว่าผิวน้ำเล็กน้อย ที่สามารถให้คนสัญจรผ่านไปมาได้โดยไม่เปียกน้ำแน่นอน
สะพานดั่งกล่าวได้รับชื่อว่า สะพานโมเสส(Moses Bridge) ตามเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ที่โมเสสเปิดทะเลแดง
ปัจจุบัน สะพานโมเสสเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่จะมา ป้อมปราการFort de Roovere
สะพานโมเสสสร้างด้วยไม้ และป้องกันน้ำรั่วซึ่มด้วยการหุ้มด้วย ฟอร์ย(Foil)
สะพานแห่งนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งก่อสร้างสมัยใหม่สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ หากได้รับการออกแบบที่ดีและเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

รูปแรกอาจจะเห็นสะพานไม่ชัดเอารูปนี้ไปดู หายังไม่ชัดอีกเดิ๋ยวหาอีกรูปให้ดูครับ

รูปสองอาจจะเห็นสะพานไม่ชัดเอารูปนี้ไปดู หามันไม่เครียร์เห็นแต่หัวโผล่กลางคูน้ำขอดูแบบแช่มๆเลย

รูปแบบซูมๆ คงเครียร์นะครับ สำหรับสะพานลับ ลวง พราง แห่ง เนเธอร์แลนด์

สะพานขาด แห่ง เนอร์เวย์



เห็นภาพแล้วพูดได้คำเดียวว่าเพี้ยนไปแล้ว สำหรับสะพานที่ดูเหมือนจะส่งรถของคุณบินสู่ท้องฟ้าแล้วหล่นตุ๊บลงทะเล แต่อย่ากังวลไปเลยมันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาเท่านั้นเอง

สะพานแห่งนี้มีชื่อว่า The Storseisundet Bridge ตั้งอยู่ทาง ตะวันตกของอ่าวเนอร์เวย์(west coast of Norway) บนถนนดิแอตแลนติก(The Atlantic Road หรือ the Atlanterhavsveien) ในประเทศนอร์เวย์
ดิแอตแลนติก เป็นถนนที่มีความยาว 8.274 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมือง Averøy กับแผ่นดินใหญ่ของเนอร์เวย์ โดยถนนเส้นนี้ประกอบไปด้วยสะพาน 8 แห่ง ที่ทำให้ที่เชื่อต่อระหว่างเกาะแก่งเป็นช่วงๆ
สะพานแห่งนี้ก่อสร้างในปี 2005 และกลายเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมที่เหล่านักท่องเที่ยวจะต้องมาถ่ายภาพซักครั้งหนึ่ง และสะพานแห่งนี้ก็มักจะปรากฏในภาพยนต์โฆษณาบ่อยๆเนื่องจากรูปลักษณะที่แปลกไม่เหมือนใคร
สะพานแห่งนี้เป็นสะพานแบบที่เรียกว่า สะพานยืน(cantilever bridge คือสะพานที่จะมีฐานรองรับหลักอยู่ที่คอสะพานแต่ละด้านเป็นอิสระต่อกัน และทำการก่อสร้างยืนแขนของสะพานแต่ละด้านไปบรรจบกันตรงกลางโดยทางทฤษฏีสะพานสามารถอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกันตรงกลาง) โดยส่วนยื่นที่ยาวที่สุดที่ปราศจากสิ่งค้ำยันมีความยาว 260 เมตร ยกตัวสูงจากทะเล 23 เมตร
ส่วนคำถามว่าทำไมมันถึงบิดโค้งขออย่างนี้เพื่ออะไร สาเหตุเนื่องจากบริเวณเกาะแก่งตามธรรมชาติที่เป็นฐานของสะพานมีลักษณะสลับไปมาไม่เป็นเส้นตรง การสร้างสะพานเชื่อมจึงต้องบิดโค้งไปหาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่กว่าการเอียงไปหาเป็นเส้นตรง และเพื่อให้ได้เส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง
ภาพสะพานทั้งหมดจะเห็นว่ามันโค้งบิดงอ ทำให้เมื่อมองจากบางมุมทำดูเหมือนมันขาด
อธิบายส่วนสะพานยืน(Cantilever bridge)คือส่วนที่ยืนอิสระออกจากตอม่อสะพาน(เสาสีเทา) ส่วนที่เป็นสะพานสีฟ้าคือโครงสร้างที่นำมาแขวนไว้บนปลายแขนสะพานยืนแต่ละข้าง

Drilled Shaft Installation

Fine Sheet Pile Driver

Pre-Casting Concrete

Pre-Casting Concrete work
สวัสดีครับ ก่อนที่ผมจะพูดเรื่อง pre-casting concrete ผมขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ pre-casting concrete ก่อนนะครับ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรคงไม่อธิบายลึกซึ้งมากนะครับ สำหรับ คำว่า “precast” คนไทยเรียก “พรีคาส” หรือ “พรีแคส” จะเรียกอย่างไรก็แล้วแ่ต่ เป็นการหล่อคอนกรีตชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารกับที่คือไม่ได้หล่อที่ตัวอาคารโครงสร้างแต่เราหล่อมันอยู่ข้างล่างหรือที่โรงงาน เพื่อจะทำการดึงเหล็กเส้นที่เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตก่อนที่จะมีการเทคอนกรีตนั่นเอง

เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ตามปกติถ้าเป็นเหล็กโครงสร้างทั่วไปก็จะใช้เหล็กกลมหรือเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน

ใช้ขนาดเท่าไร จำนวนเท่าไร นี้ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณและวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานของผู้คำนวณแต่ละท่าน แต่สำหรับ pre-casting concrete นี้เหล็กเสริมหลักในคอนกรีตจะเปลี่ยนมาใช้เป็นลวดเหล็กอัดแรง pc wire หรือที่เรียกกันว่า”เหล็กเป็น”นั้นเอง มาต่อกันที่หลังจากเทคอนกรีตสำหรับทำ pre-casting concrete กันต่อนะครับ ในเมื่อคอนกรีตแข็งตัวสามารถรับกำลังได้แล้วจะทำการตัดลวดเหล็กอัดแรงที่ปลายชิ้นส่วนที่เราทำนี่เอง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า pre-casting concrete นั่นเอง แปลตรงตัวเลย


ประโยชน์ของการทำ pre-casting concrete

ก็มีหลายข้อด้วยกันเช่น ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องทำแบบที่โครงสร้างอาคาร หล่อกับที่ข้างล่างสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายเรื่องนั่งร้าน ไม้แบบ แรงงาน เหล็กเส้น ติดตั้งง่าย เพราะเมื่อทำเสร็จก็เพียงแค่ยกขึ้นวางและเชื่อมแน่น ทำการเกร้าติ้งก็คือการเทคอนกรีตปิดรอยต่อของโครงอาคารให้เป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง จะเห็นว่าสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายประหยัดขึ้นมากและสามารถทำได้เกือบทุกชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารเริ่มตั้งแต่เหนือฐานรากขึ้นมาึ เช่น Column precast (เสาพรีคาส) Precast Ground beam (คานคอดิน) Slab precast (พื้น หรือแผ่นพื้นสำเร็จ) Stair precast (บันได) Wall precast (ผนัง) จนกระทั่งถึงคานรัดรอบเสารับหลังคาหรืออะเส (Roof beam precast) เรียกว่าทำชิ้นส่วน precast ได้หมดทั้งโครงสร้างอาคารหลักส่วนงาน finishing ตกแต่งก็เป็นเรื่องของความสวยงามของอาคารต่อไป

ดังนั้น ผู้รับเหมารุ่นใหม่ส่วนใหญ่หันใช้งาน pre-casting concrete กันมากขึ้นนั่นเอง คงพอเข้าใจคร่าวๆกันแล้ว(ดูจากรูปน่าจะเข้าใจมากกว่าผมอธิบายอีกนะครับเกี่ยวกับ precasting concrete)