วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สวยๆๆ


สวนพฤกษศาสตร์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมืองไตชุง ไต้หวัน
National Museum of Natural Science Botanical Garden, Taichung, Taiwan


ประวัติความเป็นมา

สวนพฤกษศาสตร์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เมืองไตชุง เป็นหนึ่งในหกกิจกรรมหลักของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ร่วมกับ Imax Theater, Science Center, Life Science, Chinese Science hall และ Global Environment Hall เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไตชุง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเมืองไตชุงเริ่มวางแผนการสร้างมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1980 เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ในส่วนของสวนพฤกษศาสตร์เริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 1999 และเรียกว่า Botanical park มีพรรณพืชเขตร้อนแสดงประมาณ 1200 ตัวอย่าง และเปลี่ยนเป็นการดำเนินการในรูปแบบสวนพฤกษศาสตร์ในปี ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย การแสดงนิทรรศการ และการอนุรักษด้านพรรณพืชพื้นเมืองของไต้หวัน โดยเฉพาะพืชพรรณในเขตร้อนระดับต่ำ (lowlands)

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

พื้นที่สวนพฤกษศาสตร์มีเนื้อที่ประมาณ 4.5 เอเคอร์ ตั้งอยู่บนที่ราบฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ และแบ่งพื้นที่แสดงพรรณพืชจากพื้นที่ต่างๆ ในไต้หวัน เช่น northern lowlands, southern lowlands และ monsoon rainforest ซึ่งแบ่งตามภูมิศาสตร์พืชพรรณของไต้หวัน โดยมีเทือกเขา Miaoli's Huoyian mountain เป็นเส้นแบ่งทางตอนเหนืิอกับทางตอนใต้ ดังนั้น northern lowlands จะมีการแสดงพรรณพืชที่ได้รับอิทธิพลภูมิอากาศแบบมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุ่มชื้นและปริมาณน้ำฝนปานกลาง southern lowlands ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กสิกรรม ส่วน monsoon rainforest จะแสดงพรรณพืชที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนต่างกันชัดเจน พรรณพืชมีความหนาแน่นมากกว่าส่วนอื่นๆ

จุดเด่นและพรรณไม้ที่น่าสนใจ

นอกจากพื้นที่แสดงพรรณพืชจากส่วนต่างๆ ของไต้หวันแล้ว ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีกได้แก่

  • Tropical Rain Forest Greenhouse เป็นเรือนกระจกขนาดใหญ่ ที่เป็นจุดเด่นที่สุดในสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งภายในแยกออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หอคอยต้นไม, man and plants, tropical flowering trees, orchids, palm slopes เป็นต้น เป็นที่แสดงพรรณพืชจากเขตร้อนประมาณ 300 ชนิด นอกจากนี้ยังมีตู้ปลาพิรันญ่า และปลาขนาดใหญ่ที่สุดจากแม่น้ำอเมซอนแสดงด้วย
  • Lianas & Succulents ที่แสดงไม้เถาและพืชอวบน้ำของไต้หวัน โดยเฉพาะพืชวงศ์ถั่ว Leguminosae) เช่น Rusty-leaf mucuna, long-globose fruit caesalpinia และ Taiwan millettia เป็นต้น
  • Nursery & Seed Bank อยู่ติดกับศูนย์วิจัยและการศึกษา เพื่อผลิตและอนุบาลพรรณพืชต่างๆ ที่ใช้แสดงในสวนพฤกษศาสตร์ และยังเป็นเรือนกล้วยไม้ขนาดใหญ่ มีมากกว่า 1000 ชนิด และยังเป็นที่เพาะมะพร้่าวแฝด (double coconut) สำหรับส่วนของ Seed Bank เป็นที่รวบรวมเมล็ดพรรณพืชในสวนพฤกษศาสตร์เพื่อการขยายพันธุ์ และแลกเปลี่ยนกับสวนพฤกษศาสตร์แห่งอื่นๆ ทั่วโลก

สถานที่ติดต่อ

Address: No. 1, Guancian Rd., North District, Taichung City, Taiwan, R.O.C.
Tel: 04-23226940
website: http://www.nmns.edu.tw/index_eng.htm

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

สะพานมังกร สะพานแปลกๆสวยๆ สุดอลังการที่จีน





สะพานล่องหน ลับ ลวง พราง


สะพานที่เห็นในภาพนี้เป็นสะพานข้ามคูที่ล้อมรอบป้อมปราการ ในสมัยศตวรรษที่ 17 ที่นักออกแบบได้ทำการออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม

รายละเอียด
สะพานที่เห็นนี้เป็นสะพานสำหรับข้ามคูน้ำรอบๆป้อมปราการFort de Roovere ในศตวรรษที่ 17 ที่ตั้งอยู่ที่เมืองHalsteren ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยสะพานดั่งเดิมนั้นไม่มีอยู่แล้ว ชำรุดทรุดทรามลง นักออกแบบจริงคิดว่าทำไมเราต้องมายึดติดสร้างสะพานแบบเดิมๆ ทีสร้างเหนือคูน้ำกันอยู่นั้น
แทนที่ด้วยสะพานที่มองไม่เห็น โดยท้องสะพานนั่งอยู่บนพื้นคูน้ำ โดยมีมีราวสะพานอยู่สูงกว่าผิวน้ำเล็กน้อย ที่สามารถให้คนสัญจรผ่านไปมาได้โดยไม่เปียกน้ำแน่นอน
สะพานดั่งกล่าวได้รับชื่อว่า สะพานโมเสส(Moses Bridge) ตามเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ที่โมเสสเปิดทะเลแดง
ปัจจุบัน สะพานโมเสสเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่จะมา ป้อมปราการFort de Roovere
สะพานโมเสสสร้างด้วยไม้ และป้องกันน้ำรั่วซึ่มด้วยการหุ้มด้วย ฟอร์ย(Foil)
สะพานแห่งนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งก่อสร้างสมัยใหม่สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ หากได้รับการออกแบบที่ดีและเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

รูปแรกอาจจะเห็นสะพานไม่ชัดเอารูปนี้ไปดู หายังไม่ชัดอีกเดิ๋ยวหาอีกรูปให้ดูครับ

รูปสองอาจจะเห็นสะพานไม่ชัดเอารูปนี้ไปดู หามันไม่เครียร์เห็นแต่หัวโผล่กลางคูน้ำขอดูแบบแช่มๆเลย

รูปแบบซูมๆ คงเครียร์นะครับ สำหรับสะพานลับ ลวง พราง แห่ง เนเธอร์แลนด์

สะพานขาด แห่ง เนอร์เวย์



เห็นภาพแล้วพูดได้คำเดียวว่าเพี้ยนไปแล้ว สำหรับสะพานที่ดูเหมือนจะส่งรถของคุณบินสู่ท้องฟ้าแล้วหล่นตุ๊บลงทะเล แต่อย่ากังวลไปเลยมันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาเท่านั้นเอง

สะพานแห่งนี้มีชื่อว่า The Storseisundet Bridge ตั้งอยู่ทาง ตะวันตกของอ่าวเนอร์เวย์(west coast of Norway) บนถนนดิแอตแลนติก(The Atlantic Road หรือ the Atlanterhavsveien) ในประเทศนอร์เวย์
ดิแอตแลนติก เป็นถนนที่มีความยาว 8.274 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเมือง Averøy กับแผ่นดินใหญ่ของเนอร์เวย์ โดยถนนเส้นนี้ประกอบไปด้วยสะพาน 8 แห่ง ที่ทำให้ที่เชื่อต่อระหว่างเกาะแก่งเป็นช่วงๆ
สะพานแห่งนี้ก่อสร้างในปี 2005 และกลายเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมที่เหล่านักท่องเที่ยวจะต้องมาถ่ายภาพซักครั้งหนึ่ง และสะพานแห่งนี้ก็มักจะปรากฏในภาพยนต์โฆษณาบ่อยๆเนื่องจากรูปลักษณะที่แปลกไม่เหมือนใคร
สะพานแห่งนี้เป็นสะพานแบบที่เรียกว่า สะพานยืน(cantilever bridge คือสะพานที่จะมีฐานรองรับหลักอยู่ที่คอสะพานแต่ละด้านเป็นอิสระต่อกัน และทำการก่อสร้างยืนแขนของสะพานแต่ละด้านไปบรรจบกันตรงกลางโดยทางทฤษฏีสะพานสามารถอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกันตรงกลาง) โดยส่วนยื่นที่ยาวที่สุดที่ปราศจากสิ่งค้ำยันมีความยาว 260 เมตร ยกตัวสูงจากทะเล 23 เมตร
ส่วนคำถามว่าทำไมมันถึงบิดโค้งขออย่างนี้เพื่ออะไร สาเหตุเนื่องจากบริเวณเกาะแก่งตามธรรมชาติที่เป็นฐานของสะพานมีลักษณะสลับไปมาไม่เป็นเส้นตรง การสร้างสะพานเชื่อมจึงต้องบิดโค้งไปหาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่กว่าการเอียงไปหาเป็นเส้นตรง และเพื่อให้ได้เส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง
ภาพสะพานทั้งหมดจะเห็นว่ามันโค้งบิดงอ ทำให้เมื่อมองจากบางมุมทำดูเหมือนมันขาด
อธิบายส่วนสะพานยืน(Cantilever bridge)คือส่วนที่ยืนอิสระออกจากตอม่อสะพาน(เสาสีเทา) ส่วนที่เป็นสะพานสีฟ้าคือโครงสร้างที่นำมาแขวนไว้บนปลายแขนสะพานยืนแต่ละข้าง

Drilled Shaft Installation

Fine Sheet Pile Driver

Pre-Casting Concrete

Pre-Casting Concrete work
สวัสดีครับ ก่อนที่ผมจะพูดเรื่อง pre-casting concrete ผมขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ pre-casting concrete ก่อนนะครับ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรคงไม่อธิบายลึกซึ้งมากนะครับ สำหรับ คำว่า “precast” คนไทยเรียก “พรีคาส” หรือ “พรีแคส” จะเรียกอย่างไรก็แล้วแ่ต่ เป็นการหล่อคอนกรีตชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารกับที่คือไม่ได้หล่อที่ตัวอาคารโครงสร้างแต่เราหล่อมันอยู่ข้างล่างหรือที่โรงงาน เพื่อจะทำการดึงเหล็กเส้นที่เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตก่อนที่จะมีการเทคอนกรีตนั่นเอง

เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ตามปกติถ้าเป็นเหล็กโครงสร้างทั่วไปก็จะใช้เหล็กกลมหรือเหล็กข้ออ้อยมาตรฐาน

ใช้ขนาดเท่าไร จำนวนเท่าไร นี้ก็ขึ้นอยู่กับการคำนวณและวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งานของผู้คำนวณแต่ละท่าน แต่สำหรับ pre-casting concrete นี้เหล็กเสริมหลักในคอนกรีตจะเปลี่ยนมาใช้เป็นลวดเหล็กอัดแรง pc wire หรือที่เรียกกันว่า”เหล็กเป็น”นั้นเอง มาต่อกันที่หลังจากเทคอนกรีตสำหรับทำ pre-casting concrete กันต่อนะครับ ในเมื่อคอนกรีตแข็งตัวสามารถรับกำลังได้แล้วจะทำการตัดลวดเหล็กอัดแรงที่ปลายชิ้นส่วนที่เราทำนี่เอง ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า pre-casting concrete นั่นเอง แปลตรงตัวเลย


ประโยชน์ของการทำ pre-casting concrete

ก็มีหลายข้อด้วยกันเช่น ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องทำแบบที่โครงสร้างอาคาร หล่อกับที่ข้างล่างสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายเรื่องนั่งร้าน ไม้แบบ แรงงาน เหล็กเส้น ติดตั้งง่าย เพราะเมื่อทำเสร็จก็เพียงแค่ยกขึ้นวางและเชื่อมแน่น ทำการเกร้าติ้งก็คือการเทคอนกรีตปิดรอยต่อของโครงอาคารให้เป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง จะเห็นว่าสะดวกสบายลดค่าใช้จ่ายประหยัดขึ้นมากและสามารถทำได้เกือบทุกชิ้นส่วนของโครงสร้างอาคารเริ่มตั้งแต่เหนือฐานรากขึ้นมาึ เช่น Column precast (เสาพรีคาส) Precast Ground beam (คานคอดิน) Slab precast (พื้น หรือแผ่นพื้นสำเร็จ) Stair precast (บันได) Wall precast (ผนัง) จนกระทั่งถึงคานรัดรอบเสารับหลังคาหรืออะเส (Roof beam precast) เรียกว่าทำชิ้นส่วน precast ได้หมดทั้งโครงสร้างอาคารหลักส่วนงาน finishing ตกแต่งก็เป็นเรื่องของความสวยงามของอาคารต่อไป

ดังนั้น ผู้รับเหมารุ่นใหม่ส่วนใหญ่หันใช้งาน pre-casting concrete กันมากขึ้นนั่นเอง คงพอเข้าใจคร่าวๆกันแล้ว(ดูจากรูปน่าจะเข้าใจมากกว่าผมอธิบายอีกนะครับเกี่ยวกับ precasting concrete)

เทคนิคการติดตั้ง Segment โครงการรถไฟฟ้า

วิธีการติดตั้้งผนังแบบ prefab

ขั้นตอนผลิตพรีคาสพฤกษา

พรีคาสท์ คอนกรีต



วันนี้ ตั้งใจจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ระบบพรีคาสท์คอนกรีต (Precast concrete) ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินการก่อสร้างระบบหนึ่ง ที่ปัจจุบันวงการก่อสร้างในบ้านเรา เริ่มนิยมใช้ ถามว่าทำไมเริ่มนิยมใช้ จริงๆ แล้วระบบพรีคาสท์ในบ้านเรามีการใช้มานานมาก แต่มีการเลือกนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างบางอย่าง เช่น การก่อสร้างสะพาน ทางยกระดับหรือพวกทางด่วน นั่นเอง ส่วนงานด้านอาคาร บ้าน ห้องแถว ตึกแถวนั้น ก็ ยังไม่นิยมใช้งานกันมากนัก ก็จะมีเห็นบางชิ้นงาน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนพื้นสำเร็จรูป แต่หากนับรวมองค์อาคารทั้งหมดแล้วยังน้อยมาก
ทำไมถึงต้องเรียกว่า พรีคาสท์ precast แน่นอนครับหลายๆ คน คงงง หรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร เป็นการทำบ้านหรืออาคารแบบของเล่นมาต่อๆกัน เหรอ แล้วคำว่า พรีแฟ็บ prefab มันต่างกันยังไวกับพรีคาสท์ ผมขอแยกหรืออธิบายให้ง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพให้ชัดเจนอย่างนี้นะครับ
คำว่า พรีคาสท์ มาจาก precast นั้นคือ pre+cast คำว่า pre นั่นคือ ก่อน ส่วนคำว่า cast แปลว่า การหล่อหรือการเทในแบบ นั้นเอง เมื่อสองคำมารวมกัน ก็สามารถแปลได้ว่า เป็นการหล่อหรือเทในแบบก่อนนำไปใช้งานหรือก่อนการประกอบ
เอาละครับแล้วมาถึง คำว่า พรีแฟ็บ prefab จริงแล้วน่าจะตัดมาสั้นๆนะครับคำเต็มๆ คือ prefabicate หรือ prefabication คือการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันก่อนนำไปติดตั้ง ส่วนมากก็มักนิยมใช้กับงานเหล็กที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาต่อกันเป็นรูปร่างที่ต้องการเป็นส่วนๆ แล้วค่อยนำไปประกอบเป็นงานองค์รวม ซึ่งเรื่องว่าการ installation หรือ erection แล้วแต่กรณีครับ
สำหรับงานก่อสร้างที่เลือกใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ทำการหล่อเป็นชิ้นงาน แล้วมาประกอบติดตั้งเป็นโครงสร้างในหน่วยงานก่อสร้างนั้นเรามักเรียกว่า พรีคาสท์ precat contrete ครับ หรือเรียกว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งแแต่ละชิิ้นส่วนก็จะได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม แตกต่างกันไปตามโครงสร้างอาคารและการทำหน้าที่ของแต่ละช้นส่วนขององค์อาคารนั้นๆ ครับ
แล้วเรามาว่ากันต่อ นะครับ ในส่่วนรายละเอียดของระบบพรีคาสท์ ครับ

เทคนิคการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้า



การขุดเจาะอุโมงค์ในกรุงเทพมหานครด้วยระบบหัวขุดเจาะ ได้เริ่มเข้ามาดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ในโครงการอุโมงค์ส่งน้ำของการประปานครหลวง ซึ่งกลุ่มบริษัท I.O.N. เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาดำเนินการก่อสร้าง โดยใช้หัวขุดเจาะอุโมงค์ประเภท Semi Mechanical Shield จากประสบการณ์ก่อสร้างอุโมงค์ในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมาทำให้ได้ทราบปัญหาในการใช้หัวขุดเจาะประเภท Semi Mechanical (Open TypeShield) ที่มีขีดจำกัดไม่เหมาะสมกับการขุดเจาะอุโมงค์สำหรับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งมีสภาพของชั้นดินหลายประเภท ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาเลือกใช้หัวขุดเจาะอุโมงค์ประเภทสมดุลย์แรงดันดิน (Earth Pressure Balance Shield) (E.P.B.) ซึ่งเป็นหัวขุดเจาะที่เหมาะสำหรับการขุดเจาะในทุกสภาพของชั้นดินในกรุงเทพฯ


โครงการที่ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ด้วยหัวขุดเจาะอุโมงค์ชนิด E.P.B. ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จรวมระยะทาง 12 ก.ม. ในชั้นดินอ่อนและดินแข็งของโครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร สามารถยืนยันได้ว่าหัวขุดเจาะชนิด E.P.B. เหมาะสมกับการก่อสร้างอุโมงค์ในกรุงเทพฯ
เทคนิคการขุดเจาะอุโมงค์ด้วยวิธี Earth Pressure Balance (EPB)
ลักษณะของหัวขุดแบบ Earth Pressure Balance เป็นหัวขุดแบบปิดหน้า เพื่อกันการพังทลายของหน้าดิน การขนถ่ายดินอาศัยดินที่อยู่ใน Soil Chamber ถูกดูดผ่าน Screw Conveyor เป็นตัวขนถ่ายดินผ่านระบบสายพานอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทางออกของ Screw Con veyor มีประตูปิด-เปิด ด้วยระบบไฮดรอลิกอีกชั้นหนึ่ง ความเร็วของการขนถ่ายดินด้วยระบบ Screw Conveyor ขึ้นอยู่กับแรงดันดินใน Soil Chamber กล่าวคือ ถ้าสภาพดินดีจะไม่มีแรงดันดิน ถ้าสภาพดินเหลวจะทะลักเข้ามาใน Soil Chamber ทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะไปกำหนดความเร็วรอบของ Screw-Conveyor ให้ช้าลง เพื่อต้านดินให้ทะลักเข้ามาน้อยลงหรือปิด Slide Gate ถ้าสภาพดินเหลวและสามารถทะลักผ่าน screw conveyor ได้

1. การควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนตัวของหัวขุดประกอบด้วย

Shield Jack เป็นแม่แรงขนาดตั้งแต่ 80 ตัน จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดของหัวขุดติดตั้งด้านหลังหัวขุด เพื่อใช้ในการถีบตัวไปข้างหน้า โดยอาศัยเปลือกอุโมงค์เป็นตัวรับแรงการบังคับแนวซ้าย-ขวา หรือ ขึ้นบนและลงข้างล่าง ให้พิจารณาเลือกตำแหน่งของ Shield Jack เช่น ต้องการให้หัวขุดเลี้ยวซ้ายให้เลือก Shield Jack ในตำแหน่งขวามือโดยยึดถือการหันหน้าเข้าหัวขุด
Copy cutter คือ ฟันสามารถยึดตัวออกทางด้านรัศมี เพื่อเพิ่มการกัดหน้าดินให้เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้หัวขุดสามารถเลี้ยวตัวได้มากขึ้น
Articulated Steering Jack คือ ส่วนของหัวขุดที่สามารถหักงอเพื่อลดรัศมีความโค้งของอุโมงค์
ระบบควบคุมหัวขุดเจาะอุโมงค์ (TBM Driving control System) ใช้อุปกรณ์ Gyro-Compass & Computerize Level Control System
2.
เทคนิคการคำนวณออกแบบความดันที่หัวเจาะ เพื่อต้านทานแรงดันดินในขณะที่ขุดเจาะ ซึ่งในการคำนวณโครงสร้างของหัวขุดจะต้องพิจารณาแรงดันดิน แรงต้านทานขณะขุดเจาะ ความหนาของ skin plate ความแข็งแรงของ ring girder และความสามารถในการดันและบิดของ cutter head เป็นต้น

3.
วิธีเลือกตำแหน่งที่จะนำเครื่องมือขุดเจาะอุโมงค์ลงไป และนำดินที่ขุดเจาะออกไปทิ้ง (Construction shaft) จะต้องคำนึงถึงขนาดพื้นที่รวมทั้งทางเข้าออก เพื่อขนถ่ายวัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เพียงพอและสะดวก ระยะทางระหว่าง Construction Shaft และ Reception Shaft จะต้องสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของหัวขุดและระยะเวลาการก่อสร้าง

4.
เทคนิคการวางแผนและลำดับขั้นตอนการนำดินที่ขุดเจาะอุโมงค์ไปทิ้ง โดยส่งผลกระทบต่อการจราจรน้อยที่สุด การจราจรในกรุงเทพมีผลต่อการก่อสร้างอุโมงค์มาก ไม่เพียงแต่การขนถ่ายดินเพียงอย่างเดียว การขนถ่ายชิ้นส่วนอุโมงค์ก็มีผลกระทบมาก การวางแผนจะต้องพิจารณาส่วนประกอบดังนี้

ขนาดของพื้นที่ทำงานต้องมีขนาดที่เหมาะสมและการจัดการที่ดี เช่น พื้นที่ที่เก็บดิน ต้องเพียงพอต่อการขุดเจาะอุโมงค์ในตอนกลางวันและจะต้องมีการจัดการขนย้ายดินให้หมดในเวลากลางคืน ซึ่งจะไม่กระทบกับการจราจร
การขนย้ายชิ้นส่วนอุโมงค์จากโรงงานผลิต จะต้องขนย้ายในเวลากลางคืนและไม่ส่งผลกระทบกับการขนย้ายดิน
ระยะทางจากสถานที่ทิ้งดินและหน่วยงาน ต้องสัมพันธ์กับปริมาณรถในการขนถ่าย จะต้องมีที่ทิ้งดินสำรองเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการขุดเจาะอุโมงค์
ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขในขณะดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์

1. เมื่อหัวเจาะเคลื่อนออกไปจากแนวที่กำหนด สาเหตุที่หัวเจาะผิดไปจากแนวที่กำหนดมีดังนี้

ขาดความรู้และความเข้าใจของวิศวกรและผู้ควบคุมในการควบคุมหัวเจาะ
ความผิดพลาดในการสำรวจและการคำนวณ
ขาดความชำนาญและประสบการณ์ ในการควบคุมและประกอบชิ้นส่วนอุโมงค์ การแก้ไขโดยใช้เทคนิคการควบคุมหัวเจาะ
2.
เมื่อพบชั้นทราย, ชั้นดินปนทรายหรือน้ำใต้ดิน ในขณะขุดเจาะลักษณะของหัวขุดแบบ Earth Pressure Balance นั้น สามารถขุดได้ในทุกสภาพชั้นดิน (ยกเว้นชั้นที่เป็นหิน) วิธีการแก้ไขปัญหากรณีนี้ที่พบชั้นดินแต่ละประเภท ทำดังนี้

ชั้นดินแข็ง (Stiff Clay) ความจริงหัวขุดประเภทนี้เหมาะสำหรับขุดในชั้นดินอ่อน หากเจอสภาพดินแข็ง จำเป็นต้องฉีดน้ำเข้าไปเพื่อย่อยสลายดินให้อ่อนตัว มิฉะนั้นดินก้อนใหญ่จะก่อปัญหาให้ Screw Conveyor อุดตันได้
ชั้นดินเหนียว (Medium Dlay) เป็นชั้นดินที่เหมาะสมกับหัวขุดประเภทนี้ปัญหามีน้อย ดินที่ออกมาจะเป็นแท่งอย่างต่อเนื่อง จะต้องตักดินให้ขาด
ชั้นทราย (Sandy Clay) หากเป็นทรายร่วนจะต้องฉีด Bentonite เข้าไปผสมเพื่อกันไม่ให้หน้าดินบริเวณหน้าหัวขุดพัง การขุดจะต้องมีแรงดันดินหน้าหัวขุดเพื่อป้องกันดินพัง
ชั้นดินปนทราย ทำเช่นเดียวกับข้อ 3
น้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินโดยเฉพาะในระดับ 20 ม. มีน้อยหากพบก็จะพบในลักษณะที่ซึมเข้ามาตามสภาพชั้นดินยังคงปกติ ถ้าเป็นกรณีที่สภาพดินอ่อนตัวมากวิธีแก้ปัญหาคือ การฉีดน้ำยาประเภท Quick setting compound หรือการทำ Ground treatment
3. เมื่อพบอุปสรรคขวางหน้า (Obstruction)
ในกรณีที่พบอุปสรรคขวางแนวขุดเจาะอุโมงค์ หากทราบล่วงหน้า (Known obstruction) เช่น เสาเข็มเขื่อน ถ้ารู้ว่าจำเป็นจะต้องตัดเสาเข็มจะต้องทำ Ground Treatment ไม่ว่ากรณีที่อยู่ในชั้นดินอ่อนหรือดินแข็ง จำเป็นต้องเสริมความแข็งแรงของเสาเข็มโดยเพิ่ม Bearing load แทน Friction load ของเข็มในส่วนที่ถูกตัดออก เมื่อหัวขุดๆ ไปถึงตำแหน่งเสาเข็มก็จะเปิดประตู Soil chamber เพื่อให้คนเข้าไปสกัดนำเอาเสาเข็มออก

วิธีการตรวจสอบการทรุดตัวของชั้นดิน (Ground Settlement)
การดำเนินการและป้องกันการทรุดตัวของชั้นดินขณะดำเนินการก่อสร้าง มีวิธีการตรวจสอบ ดังนี้

1. ตรวจสอบการทรุดตัวของบ่อก่อสร้าง (Working Shaft)
ขณะดำเนินการก่อสร้างบ่อสร้าง (Working Shaft) ไม่ว่าจะด้วยวิธีการก่อสร้างแบบการจมบ่อ (Sinking Shaft) หรือการสร้างผนังบ่อก่อนการขุดดินภายในบ่อออก การตรวจสอบการเคลื่อนตัวของดินสามารถตรวจสอบด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ ดังนี้

Inclinometer สำหรับตรวจสอบการเคลื่อนตัวของดินในแนวราบ
Extensometer สำหรับตรวจสอบการเคลื่อนตัวของดินในแนวดิ่ง
2. ตรวจสอบการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้างข้างแนวขุดเจาะอุโมงค์
โดยปกติก่อนการดำเนินการขุดเจาะอุโมงค์ จะมีการสำรวจระดับของผิวดิน หรือผิวจราจรล่วงหน้าก่อนหัวขุดเจาะอุโมงค์จะขุดไปถึง และมีการสำรวจระดับของผิวดิน หรือผิวจราจรหลังจากที่หัวขุดเจาะอุโมงค์ได้ขุดผ่าน โดยแบ่งระยะเวลาในการตรวจสอบ 1, 3, 5 และ 7 วัน ตามลำดับ การตรวจสอบโดยทั่วไปใช้กล้องระดับ

ในกรณีที่มีสิ่งก่อสร้างอาคารอยู่ด้านข้างการขุดเจาะอุโมงค์ จะต้องมีการบันทึกสภาพอาคาร และสิ่งก่อสร้างดังกล่าว ก่อนการดำเนินการก่อสร้าง รวมถึงค่าระดับตัวอาคารและสิ่งก่อสร้าง

3. การดำเนินการและป้องกัน (Operation Method & Prevention)
การขุดเจาะอุโมงค์จำเป็นต้องเกิดช่องว่างขณะที่ปลอกเหล็ก (Tail Shield) ของหัวขุดเลื่อนตัวไปข้างหน้า ช่องว่างที่เกิดจากความหนาของปลอกเหล็กและการขุดในกรณีที่ใช้ Over Cutter จำเป็นต้องได้รับการเติมให้เต็มด้วยวิธีการเกร๊าท์ (Grouting) สารที่ใช้ในการเกร๊าท์ ถ้าใช้วัสดุที่แข็งตัวเร็วจะช่วยลดการทรุดตัวได้มาก โดยปกติจะใช้น้ำยาโซเดียมซิลิเกต (Sodiumsilicate) เข้มข้น 10% เจือจางกับน้ำฉีดพร้อมกับน้ำปูนเข้าไปในช่องว่างผ่านรูเกร๊าท์ (Grout Hole) สารทั้งสองจะฟอร์มตัวในทันที ในกรณีที่จะมีการบรรจบท่อเข้ากับอุโมงค์ โดยเฉพาะอุโมงค์ที่อยู่ในชั้นดินอ่อน จำเป็นต้องเสริมความแข็งแรงของดิน ในบริเวณที่จะบรรจบด้วยวิธีการฉีดน้ำปูนด้วยแรงดันสูง (Jet Grouting) หรือแม้กระทั่งการเริ่มดันหัวขุดเจาะอุโมงค์ จากบ่อก่อสร้างในกรณีที่เตรียมช่องเปิด (Bulkhead) ด้วยเหล็กซึ่งจะต้องตัดเหล็กเพื่อเปิดซองเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับหัวขุดเจาะอุโมงค์ จำนวนของหัวขุดเจาะที่ใช้ทั้งหมด 8 หัว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน มีดังต่อไปนี้

สภาพดินบริเวณที่จะทำการขุดเจาะ (Ground condition)
ชั้นดิน (Earth profile)
ความลึกของดินบริเวณขุดเจาะอุโมงค์ 15-20 m
ระดับน้ำใต้ดิน (Ground Water Level) 0.5-3 m
ค่าความถ่วงจำเพาะของดิน (Specific Gravity of Soil) 1.45-2.3
ค่าความเหนียวของดิน (Soil Cohesion) 0.2-32 ton/m2
ค่า N (N Value) 0-50
ค่าสัมประสิทธิ์มุมเสียดทานภายในของดิน (Internal Friction Angle of Soil) 0
ค่าน้ำหนักกดทับ (Surcharge Load) 2.0 ton/m2
รูปภาพอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน






การตอกเสาเข็ม

การก่อสร้างถนน ค.ส.ล.

การประเมินราคาบ้านที่ดิน หรือที่อยู่อาศัย

ป็นการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (Property Valuation) ซึ่งหมายถึง กระบวนการในการวิเคราะห์มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ที่ดินเปล่า คอนโดมิเนียม อย่างละเอียดรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อทราบมูลค่าตลาดยุติธรรมที่เหมาะสม โดยทำการตรวจสอบสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง), วิเคราะห์ตรวจสอบทำเลที่ตั้งทรัพย์สิน-สภาพแวดล้อมโดยรอบ ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก ตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ผังเมือง,การเวนคืน,การรอนสิทธิ์,การอายัด,การตรวจสอบสิทธิ์ในการถือครองที่ดินตามกฎหมาย,การตรวจสอบภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีของทรัพย์สิน, การตรวจสอบสภาพและความสะดวกของทางเข้า-ออก, การตรวจสอบสิทธิ์ของทางเข้า-ออกตามกฎหมาย, การสืบค้นและการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดเพื่อทราบมูลค่าตลาดยุติธรรมที่เหมาะสมของทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดราคาซื้อ-ขาย การตีราคาบ้านว่าควรจะซื้อ-ขายในราคาเท่าใด หรือเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ และกำหนดวงเงินสินเชื่อ ซึ่งการประเมินราคาสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมการซื้อ การขาย การตีราคาแลกเปลี่ยน

การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน เช่น นำไปจำนอง , พิจารณาวงเงินกู้

การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในการจ่ายเงินชดเชย เช่น กรณีที่มีการเวนคืนที่ดิน

การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเก็บภาษี หรือกำหนดราคาประเมินราชการ

การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในการบันทึกบัญชี

การประเมินราคา เพื่อประมาณการผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ประมาณค่าเช่า เป็นต้น
ซึ่งมูลค่าที่ประเมินราคานั้น อาจจะไม่ใช่ราคาที่ซื้อ-ขาย โดยอาจจะสูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าราคาซื้อขายก็ได้ เนื่องจากมูลคาที่ประเมินราคานั้น ไม่อิงกับกระแส และภาวะอารมณ์ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย แต่จะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน, ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน และตามสภาวะเศรษฐกิจโดยมูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินราคามีองค์ประกอบดังนี้

ผู้ซื้อและผู้ขายพึงพอใจ และเต็มใจที่จะซื้อ,ขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ

ความเหมาะสมของราคาอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นราคาที่เหมาะสมในการซื้อขาย ที่เวลาอันเหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ประเมินราคานั้น ๆ

ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ มากพอ และมีความรอบคอบ เพื่อเหตุผลในการตัดสินใจซื้อขาย ทั้งสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน,ทำเลที่ตั้ง-สภาพแวดล้อม,ผลกระทบทางกฎหมาย และตามความต้องการ (Demand & Supply) ในสภาพตลาดปกติทั่ว ๆ ไป

การซื้อ-ขาย เกิดขึ้นอย่างยุติธรรม ไม่มีการข่มขู่บังคับ-ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรืออิทธิพลใด ๆ

หาฤกษ์ การสร้างบ้าน การปลูกบ้าน การขึ้นบ้านใหม่

ปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ย่อมมีที่อยู่อาศัย หรือ บ้าน เฮือน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไม่ว่าเราจะไปทำมาค้าขาย ทำกิจการงานที่ใดก็ตาม เมื่อเสร็จกิจการงานแล้วก็จะกลับมายังบ้านพักอาศัยเสมอ เพราะบ้านเป็นที่ที่เราภาคภูมิใจ เป็นสิ่งที่รักและหวงแหน ความอบอุ่นเกิดภายในบ้าน นอนหลับสบายใจไร้ความกลัว และความหวาดระแวง แต่ถ้าปลูกบ้านไม่ถูกโฉลกกับเจ้าของ ความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นกับเรา ดังนั้น จึงควรเลือกวัน เวลา เดือน ปี โสกหรือโฉลก และวิธีปลูกบ้าน ให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมโบราณณ

ปลูกเฮือนวันใดดี?
วันอาทิตย์ ท่านห้ามปลูกความอุบาทว์จัญไรจะเกิด
วันจันทร์ ท่านว่าปลูกได้จะมีลาภ ผ้าผ่อนท่อนสะไบบังเกิดแก่เจ้าของบ้าน
วันอังคาร ท่านห้ามปลูก จะเกิดอันตรายจากไฟ
วันพุธ ท่านว่าดี มีลาภเป็นของขาวเหลือง
วันพฤหัสบดี ท่านว่าดี จงปลูกเถิดจะได้ลาภและความสุขพูนทวี
วันศุกร์ ท่านว่า ห้ามปลูกจะมีทุกข์และสุขเท่ากันแล
วันเสาร์ ท่านห้ามปลูกเด็ดขาด จะเกิดถ้อยความมีคนเบียดเบียน และจะมีเรื่องเดือดร้อนใจ
ปลูกเฮือนเดือนใดดี?
เดือนอ้าย (เดือน 1) ท่านว่า จะทำมาค้าขึ้น จะได้เป็นเศรษฐี เพราะกิจการค้านั้น
เดือนยี่ (เดือน 2) ท่านว่าดี มีศิริในการป้องกันศัตรูทั้งมวล
เดือนสาม ท่านห้ามปลูก จะมีภัย ศัตรูเบียนเบียด
เดือนสี่ ท่านว่า ปลูกดีจะมีลาภ จะมีความสุขกายสบายใจ
เดือนห้า ท่านว่าจะเกิดทุกข์ร้อนไม่สบายใจ
เดือนหก ท่านว่าประเสริฐ จะส่งผลให้เงินทองไหลมาเทมา
เดือนเจ็ด ท่านห้ามปลูก จะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ที่หาไว้ได้แล้ว จักถูกโจรลัก หรือไฟไหม้
เดือนแปด ท่านห้ามปลูกเฮือนในเดือนนี้ เงินทองข้าวของที่เก็บไว้ จะมิอยู่คงที่แล
เดือนเก้า ท่านให้เร่งปลูกเฮือน ถ้ารับราชการจะได้รับการปูนบำเหน็จแล ถ้ามิได้รับราชการก็จะเจริญในการประกอบอาชีพแล
เดือนสิบ ท่านห้ามปลูก จะได้รับอันตรายจากโทษทัณฑ์ อาญาแผ่นดิน และการเจ็บไข้ได้ป่วย
เดือนสิบเอ็ด ท่านห้ามปลูกจะถุกคนหลอกลวงเอาของ และสิ่งที่ห่วงแหน
เดือนสิบสอง ท่านว่าควรเร่งปลูก จะได้เงินทองข้าวของ ช้างม้า ข้าทาสผู้ซื่อสัตย์แล

ปลูกเฮือนปีใดดี?
ปีชวด ให้เอากิ่งไม้คูณหรือไม้ราชพฤกษ์ มัดเสาแล้วจึงยกเสาลงหลุม เป็นมงคลแล
ปีฉลู ให้เอาผ้าขาวม้าห่อกล้วยพันปลายเสา เอากิ่งตูม 3 กิ่ง มามัด จึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีขาล ให้เอาข้าวใส่กระทง 3 อันมาวางบนเสา แล้วเอาน้ำมารด 3 ขัน จึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีเถาะ ให้เอาใบตะเคียน ใบหูดหอม และต้นกล้วย มัดปลายเสา แล้วจึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีมะโรง ให้เอาผ้าห่อใบหูดหอม และกำยานพันปลายเสา แล้วยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีมะเส็ง ให้เอาใบทอง 2 กิ่ง ผูกปลายเสา เอาข้าวสุกใส่กระทง 3 กระทง ธูป 3 คู่ เทียน 3 คู่ บูชา แล้วจึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีมะเมีย ให้เอาใบขี้เหล็ก 3 กิ่งกวาดตั้งแต่ปลายเสาลงมาถึงต้นเสา 3 ที แล้วเอาน้ำรดปลายเสา 3 ขัน รอจังหวะถ้าได้ยินไก่ขัน จึงยกเสาลงหลุมมีโชคชัยแล (ถ้าไม่มีไก่ขันให้ขันสมมุติเอา)
ปีมะแม ให้เอาใบเงิน 3 ใบ ใบหมากตัวผู้และหมากตัวเมียอย่างละ 3 ใบ กล้วยสุก 3 หน่วย อ้อย 3 ข้อ ใส่ในหลุม แล้วจึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีวอก หรือปีระกา ให้เอาเทียน 3 เล่ม ไปผูกต้นเสาทางหัวนอน ต้นไหนก็ได้ จึงยกเสาลงหลุมดีนักแล
ปีจอ หรือ ปีกุน ให้เอาข้าวตอกแตก 5 ดอก ใบบัวบก 5 ใบ รองตรงหัวเสาในหลุมก่อน จึงยกเสาลงหลุมดีนักแล

วิธีขุดเสาเฮือน โบราณาจารย์ท่านว่า บ้านต้องปลูกใส่บนดิน ในดินมีทั้งแม่ธรณีและพญานาค (นาคดิน) เป็นอารักษ์ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล ท่านว่า ควรย้ายแม่ธรณีและทำให้ถูกต้องตามโครงการนาคดิน กล่าวคือ นาคดิน นี้เราจะต้องรู้จักว่า หัวนาค หางนาค หลังนาค และท้องนาค อยู่ทางทิศไหนในแต่ละเดือนที่เราจะปลูกบ้านก่อนเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะถูกพิษนาค ทำให้เราเจ้าของบ้านต้องเดือดร้อน เจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ควรปฏิบัติดังนี้
การย้ายแม่ธรณี
ก่อนจะมีการขุดดินปลูกบ้าน โบราณท่านว่า ให้ย้ายแม่ธรณี และสิ่งของที่เป็นอาถรรพ์ทั้งหลายออกไปก่อน บ้านจึงจะเป็นบ้านอยู่สุข วิธีย้ายให้เอาเทียนเหลือง 1 คู่ ดอกไม้ขาว 1 คู่ แต่งใส่ขัน แล้วเอาผ้าขาวพาดบ่า (ห่มเฉลียงบ่า) เดินไปตรงกลางลานดินที่จะปลูกบ้าน แล้วกล่าวคำอัญเชิญว่า
"อุกาสะ ผู้ข้าขออัญเชิญแม่ธรณีเจ้าได้ออกจาก (หยับย้ายออกจาก) ที่ปลูกบ้าน เพราะที่ปลูกบ้านลูกหลานย่อมทิ้งสิ่งสกปรก ขอย้ายแม่ออกไปอยู่ข้างบ้าน แล้วขอให้แม่คุ้มครองปกป้องรักษาบ้าน และลูกหลานในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ขอให้แม่นำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย หมายมีกระดูกเป็นต้น ขอให้แม่โยนทิ้งไปให้ไกล เอาเหลือไว้แต่สิ่งอันเป็นมงคลแก่ข้าเทอญฯ"
แล้วนำเอาธูปเทียนนั่นทิ้ง วางไว้ทางทิศตะวันตกของที่ปลูกบ้าน ส่วนผู้จะประกอบพิธีนี้จะให้คนแก่ที่มีศีลธรรม (ผู้ชาย) หรือจะเอาผู้ชายเจ้าของบ้านนั้นก็ได้
การหลีกพิษนาค ในเดือนที่เราเห็นว่าปลูกบ้านดี เช่น เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า และเดือนสิบสอง ควรจะรู้ว่าเดือนเหล่านี้ ส่วนของนาคส่วนใดอยู่ทิศใด เวลาขุดดินการโกยดิน และการวางเสาแอกเสาขวัญ จะวางได้ถูกทิศทาง จะได้ไม่รับอันตรายจากพิษนาค โบราณท่านว่าดังนี้
เดือนอ้ายและเดือนยี่ หัวนาคอยู่ทางทักษิณ (ทิศใต้) หางนาคอยู่ทางทิศอุดร (เหนือ) ท้องนาคอยู่ทางทิศปัจจิม (ตะวันตก) หลังนาคอยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก) เวลาเข้าไปขุดดิน ให้เข้าไปในทางทิศท้องนาค โกยดินก็โกยไปทางทิศท้องนาคเช่นกัน คือทิศตะวันตก
เดือนสี่และเดือนหก หัวนาคอยู่ทางทิศปัจจิม หางนาคอยู่ทางทิศบูรพา หลังนาคอยู่ทางทิศอุดร ท้องนาคอยู่ทางทิศทักษิณ เมื่อเข้าไปขุดดินให้เข้าไปทางทิศท้องนาค โกยดินไปทางทิศอาคะเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) เมื่อเอาเสาไปวางก็หันปลายเสาไปทางทิศอาคะเนย์
เดือนเก้า หัวนาคอยู่ทางทิศบูรพา หางนาคอยู่ทางทิศปัจจิม หลังนาคอยู่ทางทิศทักษิณ ท้องนาคอยู่ทางทิศอุดร การเข้าไปขุดเสาให้เข้าไปทางทิศเหนือ แต่การโกยดินและการหันปลายเสาเมื่อเอาไปวางปากหลุม ให้โกยและหันไปในทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
เดือนสิบสอง หัวนาคอยู่ทิศอุดร หางนาคอยู่ทางทิศทักษิณ หลังนาคอยู่ทิศบูรพา ท้องนาคอยู่ทางทิศปัจจิม ให้เข้าไปขุดเสาในทิศตะวันตก โกยดินไปทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) การเอาเสาไปวางก็ให้หันปลายเสาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นศิริมงคลนักแล
วิธีบูชานาค เพื่อเป็นสิริมงคลต่อบ้าน โบราณท่านให้ทำเครื่องเซ่นไหว้พญานาค ซึ่งประกอบด้วยธูปเทียน และเครื่องบวดต่างๆ วิธีการทำมีดังนี้
ให้เอาโต๊ะไปตั้งวางไว้ทิศหัวนาคอยู่ แล้วเอาของหวานใส่ เช่น บวดฟักทอง ใส่ถ้วยวางไว้ในถาด เอาดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่ ธูป 5 คู่ ใส่ในถาดวางไว้บนโต๊ะ
ให้ทำธงใส่หลักไปปักข้างโต๊ะเครื่องเซ่นไหว้ทั้ง 2 ข้าง สำหรับผ้าทำธงให้ใช้สีตามเดือน ดังนี้
เดือน สีธง เดือน สีธง
เดือนอ้าย สีขาว เดือนยี่ สีขาว
เดือนสี่ สีเหลือง เดือนหก สีเหลือง
เดือนเก้า สีดำหรือสีนิล (เขียวแก่) เดือนสิบสิง สีแดง
กล่าวคำบูชา 1 จบ ว่า "อะยัง มะหานาโค อิทธิมันโต ชุติมันโต อิมินา สักกาเรนะ มะหานาคัง ปูเชมิ"
วิธีขุดเสา เมื่อเราทำเครื่องบูชาเสร็จแล้ว ให้ลงมือขุดหลุมเสาแฮก คนที่ถือเคร่งจริงๆ เวลาขุดหลุมเสาแฮกนั้น เขาจะเอาไม้คูณ หรือไม้ยอทำด้ามเสียมก่อน คนขุดก็จะตั้งชื่อให้ว่า "ท้าวเงิน ท้าวคำ ท้าวแก้ว ท้าวค้ำ ท้าวคูณ" ชื่อใดชื่อหนึ่งตามความเหมาะสม ให้เป็นผู้ขุดเสาแฮก แต่ถ้าจะตั้งชื่อคนขุดทั้ง 8 หลุม (เรือน 3 ห้องสมัยโบราณมีเสา 8 ต้นต่อเกย หรือเฉลียงอีก 4 ต้น จึงรวมเป็น 12 ต้น เกยไม่นับเป็นเรือน) ก็ให้ตั้งเพิ่มอีก 3 ชื่อ คือ ท้าวสุข ท้าวดี ท้าวมี แล้วให้ขุดเสาคนละเสา

สำหรับเสียมขุด นอกจากเสาแฮกแล้วจะเอาด้ามอะไรก็ได้ เฉพาะเสาเอกหรือเสาแฮก ให้ใช้เสียมไม้คูณ หรือไม้ยอ โดยให้ท้าวเงินเป็นคนขุด ในเวลาขุดหลุมเสาย่อมจะพบสิ่งที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล ดังนั้นเมื่อพบแล้วให้แก้นิมิตแก้อาถรรพ์ ดังนี้

ถ้าขุดไปพบกระดูก ท่านให้เอาน้ำสะอาดสรงแก้วแหวนเงินทอง มารดลงในหลุมเป็นศิริมงคลแล
เมื่อขุดลงไปพบขนสัตว์หรือเชือก ให้ไปขอน้ำมนต์จากพระมารดหลุม เป็นศิริมงคลแล
ถ้าขุดลงไปพบไม้ทราง ให้นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วเอาน้ำพระพุทธมนต์รดลงในหลุม เป็นศิริมงคลแล
ถ้าขุดลงไปพบอิฐ หรือดินเหมือนขี้หนู ท่านให้เอาน้ำผึ้งแท้รดลงในหลุม เป็นศิริมงคลแล
ถ้าของไม่ดีนอกจากนี้ ท่านให้เอาน้ำสรงพระพุทธรูปใส่ขันไว้ เอาดอกบัวหลวง ถ้าของไม่ดีนอกจากนี้ ท่านให้เอาน้ำสรงพระพุทธรูปใส่ขันไว้ เอาดอกบัวหลวง และหญาแพรก ใส่ลงในหลุม แล้วเอาน้ำสรงพระพุทธรูปรดลงในหลุม เป็นศิริมงคลแล
ก่อนเอาเสาแฮก (เสาเอก) ทางหัวนอนลงหลุม ให้เขียนกลใส่หลุมว่า "ปู่ก่อสร้างเป็นอาชญ์เฮือนหิน เงินคำมีหมื่นกือกองล้น" ต้นเสาขวัญทางตีนนอน (เสาขวัญ) ให้เขียนกลใส่ในหลุม ก่อนเอาเสาลงหลุมดังนี้ หลานก่อสร้างเป็นอาชญ์เฮือนหิน เงินคำมีหมื่นกือกองล้น" เขียนแล้วเอาลงใส่ในหลุมดังกล่าว
ลักษณะที่ดินที่ไม่ควรปลูกเฮือน
พื้นดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ท่านว่าไม่ควรปลูกบ้านเพราะเข้าลักษณะโลงผี จะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ควรแยกที่ดินนั้นเป็นสวนไม้ดอก ไม้ผล ด้วยการกั้นรั้วแบ่งเป็นสัดส่วนให้ที่ดินเปลี่ยนรูปร่าง ไปเสียส่วนหนึ่งก่อน แล้วจึงปลูกท่านว่าจะเป็นมงคลแล
ที่ดินรีแหลมยาวรูปธง ท่านว่าไม่ควรปลูกบ้าน ถ้าจะปลูกควรแก้เคล็ดดังข้อ 1 เสียก่อน จึงปลูกบ้าน ท่านว่าจะเป็นมงคลแล
อย่าปลูกบ้านกวมตอไม้ใหญ่ ถ้าจะปลูกก็ควรขุดออกให้หมดเสียก่อน มิฉะนั้นจะทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ท่านว่า มีภูติผีสิงอาศัยอยู่ในนั้น
อย่าปลูกเฮือนอกแตก คือทำบ้านสองหลังเป็นฝาแฝด แต่ชายคาไม่ต่อกัน จะทำให้คนในบ้านทะเลาะวิวาทกัน
อย่าปลุกเฮือนหงำเฮือน (ข่มเฮือน) คือทำเฮือนใหญ่ที่เป็นเสาเอกนั้น ต่ำกว่าเฮือนเล็กที่สร้างขึ้นใหม่ โบราณท่านว่า จะยากไร้อนาถา ไม่มีคนยำเกรง มีแต่คนข่มเหงแล

วิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever

บทนำ

วิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever ได้รับความนิยมภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หลัง จากสะพานหลายแห่งได้ถูกทำลายลงจากสงคราม ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอนกรีตอัดแรงเป็นผลให้วิธีการก่อสร้าง ประเภทนี้ถูกใช้นำมาก่อสร้างบ่อยครั้ง


วิธีการก่อสร้างสะพานแบบดังกล่าวจะมีลักษณะการก่อสร้างเพิ่มส่วนยื่นออกไป ทั้งสองข้าง โดยในแต่ละส่วนที่ยื่นออกไป จะมีการดึงลวดอัดแรง เพื่อต้านกับน้ำหนักของส่วนยื่น เมื่อขั้นตอนการก่อสร้างถึงช่วงหล่อชิ้นสุดท้าย ก็จะทำการดึงลวดช่วงกลาง เพื่อรับน้ำหนักที่เกิดจากโครงสร้างต่อเนื่อง (ดังแสดงในรูปที่ 1 และรูปที่ 2)
รูปที่ 1 แสดงวิธีการก่อสร้างแบบ Balance Cantilever


รูปที่ 2 แสดงวิธีการก่อสร้างช่วงสุดท้าย


ข้อดีของการก่อสร้างสะพานด้วยวิธี Balance Cantilever มีหลายประการเช่น
- ไม่ต้องการนั่งร้านค้ำยัน (Scaffolding) ที่ต้องใช้ค้ำจากระดับพื้นล่าง ซึ่งเหมาะสำหรับในกรณีเป็นสะพานข้ามแม่น้ำหรือข้ามถนนที่มีการจราจรหนาแน่น
- ลดปริมาณการใช้แบบหล่อคอนกรีต (Formworks) และนั่งร้านค้ำยัน (Scaffolding) เนื่องจากการหล่อคอนกรีตทำครั้งละชิ้นส่วน (Segment) และใช้แบบหล่อซ้ำได้อีก
- ประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเนื่องจากระบบการก่อสร้างเป็นแบบที่ซ้ำไปมา ซึ่งจะทำให้คนงานมีความชำนาญมากขึ้นตามระยะเวลา
- การก่อสร้างสามารถก่อสร้างได้หลายช่วงพร้อมๆ กัน

ในปัจจุบันการก่อสร้างสะพานที่นิยมใช้ขึ้นกับช่วงความยาวสะพาน จากสถิติที่เก็บรวบรวมมาจัดแบ่งวิธีการก่อสร้างได้ดังนี้

หลักการและแนวคิด (CONCEPT)
ลักษณะการก่อสร้างด้วยวิธี Balance Cantilever มีส่วนประกอบของโครงสร้างที่สำคัญดังนี้
1. ชิ้นส่วนของคอนกรีต
- Pier segment คือ ชิ้นส่วนของคอนกรีตที่อยู่บริเวณหัวเสา
- Segment คือ ชิ้นส่วนของคอนกรีตทั่วไปที่หล่อยื่นออกจากบริเวณหัวเสา
- Closure pour คือชิ้นส่วนของคอนกรีตที่ตำแหน่งหล่อช่วงเชื่อมต่อสุดท้าย
2. ลวดอัดแรง (ดังแสดงในรูปที่ 4)
- Cantilever cables คือลวดที่ใช้เพื่อรับแรงจาก moment ลบที่ช่วงหัวเสาโดยเฉพาะ ช่วงก่อสร้างที่มีการยื่นของสะพานมากๆ
- Span cables คือลวดที่เสริมในช่วงกลางสะพานเพื่อรับ moment บวกที่เกิดหลังจากที่มีการต่อเชื่อมช่วงกลาง (Closure segment) แล้ว
- Continuity cables คือลวดที่ยาวต่อเนื่อง เพื่อเสริมให้โครงสร้างมีพฤติกรรมแบบคานต่อเนื่อง
3. ชิ้นส่วนของโครงสร้างพิเศษที่ใช้ในการก่อสร้าง
- Traveller Formwork
- นั่งร้าน (Scaffolding)
- Closure beam
- Temporary Pier





วิธีการก่อสร้างด้วย Balance Cantilever จัดได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของวิธีการยื่นของโครงสร้าง
- วิธีสมมาตร (Symmetrical Method) จะทำการก่อสร้างยื่นทั้ง 2 ข้าง พร้อมๆ กัน วิธีนี้จะง่ายในขั้นตอนการออกแบบ แต่ในขั้นตอนการทำงานแล้วจะต้องการกำลังคนและอุปกรณ์ในการทำงานในเวลาเดียว กัน และต้องการพื้นที่บริเวณหัวเสามากพอที่จะติดตั้ง Formwork Traveller ทั้ง 2 ตัวได้ในเวลาเดียวกัน
วิธีอสมมาตร (Asymmetrical Method) จะ ทำการก่อสร้างยื่นทีละข้าง เพื่อลดพื้นที่การทำงานบริเวณหัวเสาและกระจายการทำงานและแรงงานออกไปไม่ พร้อมๆกัน แต่ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงแนวการเสริมลวดอัดแรงและน้ำหนักที่ก่อสร้างไม่ พร้อมกันนี้ด้วย



รูปที่ 5 แสดงวิธีการก่อสร้าง

การวิเคราะห์โครงสร้างและผลจากการก่อสร้างในแต่ละช่วงเวลา
เนื่อง จากการก่อสร้างจะทำการหล่อชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในแต่ละชิ้นส่วนก็จะทำการอัดแรง ทำให้หน่วยแรงที่วิเคราะห์จะต้องพิจารณาผลการอัดแรงที่มีอยู่ในโครงสร้าง เดิม บวกกับการอัดแรงครั้งใหม่ จึงจะได้หน่วยแรงลัพธ์สุดท้ายที่หน้าตัดนั้นๆ ซึ่งเมื่อทำการก่อสร้างเพิ่มส่วนยื่นไปเรื่อยๆจนถึงส่วนของการหล่อชิ้นส่วน หล่อปิด (Closure pour) และทำการดึงลวดอัดแรงของลวดช่วงกลาง (Span Tendons) ทำ ให้โครงสร้างเปลี่ยนสภาพจากช่วงยื่นเป็นช่วงต่อเนื่องใช้รับน้ำหนักที่สภาวะ ใช้งาน ดังนั้นการวิเคราะห์โครงสร้างจะต้องคำนึงถึงผลดังกล่าวในการคำนวณ เพราะค่าหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการก่อสร้าง อาจมีค่าวิกฤติกว่าในสภาวะการใช้งานก็เป็นได้
การวิเคราะห์และออกแบบ
การวิเคราะห์โครงสร้างของวิธีการก่อสร้างด้วย Balance Cantilever จะ พิจารณาถึงสภาพการก่อสร้างซึ่งค่อยๆ เพิ่มส่วนยื่นตามเวลา ซึ่งสภาพน้ำหนักที่กระทำต่อตัวโครงสร้างจะเปลี่ยนไปตามสภาพโครงสร้างด้วย เช่น ตำแหน่งของน้ำหนักจาก Traveller, น้ำหนักของชิ้นส่วน ที่เทใหม่ เป็นต้น จากสภาพน้ำหนักที่แตกต่างกัน ในแต่ละช่วงเวลานี้ เป็นผลให้ในการออกแบบจะต้องพิจารณาสภาพของการก่อสร้างและช่วงเวลาที่ใช้ใน การก่อสร้างโดยละเอียด โดยคำนึงถึงผลการเสียรูปอันเนื่องมาจาก Creep และ Shrinkage ของคอนกรีตด้วย
นอก จากการก่อสร้างที่เวลาต่างๆ จะมีผลกับน้ำหนักที่กระทำและหน่วยแรงที่เกิดขึ้นแล้ว ในส่วนของตัวโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง แรงในลวดอัดแรงก็จะมีการสูญเสียไปตามเวลาเช่นกัน สาเหตุของแรงในลวดที่สูญเสียไปตามเวลาคือ Creep, Shrinkage, Relaxation, Elastic Shortening ซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาด้วย
จำนวนและตำแหน่งลวด

จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างเมื่อรวมผลของเวลาและขั้นตอนการก่อสร้างมาพิจารณาแล้ว การให้จำนวนและตำแหน่งลวดจะขึ้นอยู่กับ Moment Diagram ซึ่งแนวทางการจัดลวดจะเป็นไปตาม Moment Diagram ดังกล่าว ดังแสดงในรูปที่ 6




รูปที่ 6 แสดงการจัดลวดกับ Moment ที่เกิดขึ้น

เสถียรภาพของโครงสร้าง
การก่อสร้างด้วยวิธี Balance Cantilever นี้ เสถียรภาพของโครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการขาดสมดุล (Overturning) จากสภาพน้ำหนัก ที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันทั้งสองข้าง สภาพน้ำหนักที่เกิดจะต้องพิจารณามีดังนี้
- ผลแตกต่างของน้ำหนักโครงสร้างที่ตั้งสมมุติฐานไว้กับการก่อสร้างจริง
- ผลของน้ำหนักของตัวโครงสร้างกรณีที่ก่อสร้างด้วยวิธี อสมมาตร (Asymmetrical)
- ผลของน้ำหนักที่กระทำจากอุปกรณ์การก่อสร้างที่รู้ตำแหน่งแน่นอน เช่น Formwork Traveller
- ผลของน้ำหนักที่กระทำจากการก่อสร้างที่มีการเคลื่อนย้าย เช่น วัสดุ, เครื่องมือ, คน ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
- แรงลม
- สภาวะที่รับน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากผลของแรงกระแทก (Impact Effect)
หากผลของการพิจารณาพบว่าโครงสร้างไม่เสถียรภาพแล้ว จึงจำเป็นต้องเสริมเสถียรภาพของโครงสร้างด้วยวิธีต่าง ๆ ดังแสดงในรูปที่ 8




รูปที่ 7 แสดงแรงที่กระทำกับโครงสร้างเพื่อพิจารณาเสถียรภาพ







รูปที่ 8 แสดงวิธีการเสริมเสถียรภาพของโครงสร้าง


ค่าการโก่งตัว
ค่าการโก่งตัวของวิธี Balance Cantilever จะ มีลักษณะโก่งลง เมื่อมีน้ำหนักจากการก่อสร้าง และจากน้ำหนักของคอนกรีตส่วนที่หล่อใหม่ แต่จะโก่งตัวขึ้นเมื่อมีการอัดแรง นอกจากนี้ผลจากการทรุดของฐานรากก็มีผลต่อระดับสะพานเช่นกัน ผลดังกล่าวจะเกิดการโก่งตัวเช่นนี้ซ้ำซ้อน จนกระทั่งถึงช่วงที่หล่อ Closure Pour ซึ่งจะต้องให้ระดับที่ทำมาจาก 2 ฝั่งมีค่าใกล้เคียงกันเพื่อหล่อส่วนปิดนี้ได้
ดัง นั้นการคำนวณค่าการโก่งตัวโดยละเอียดจึงจำเป็น เพื่อคาดการณ์ค่าการโก่งตัวให้รูปร่างของสะพานได้ตามที่ต้องการในสภาพใช้งาน การวัดค่าการโก่งตัวของแต่ละช่วงที่อัดแรง จะใช้เฝ้าดูแนวโน้มการโก่งตัวที่เกิดขึ้นจริงกับการโก่งตัวที่ได้จากการ คำนวณ เพื่อนำไปปรับระดับแบบหล่อ ในการหล่อชิ้น (Segment) ต่อไป จนกระทั่งสามารถทำให้ระดับช่วงชิ้นส่วนหล่อปิด (Closure Pour) มีค่าใกล้เคียงกันทั้ง 2 ข้างให้มากที่สุด
การวัดและการตรวจสอบการก่อสร้าง
การ วัดและการตรวจสอบการก่อสร้างเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ควบคุมการก่อสร้างต้องให้ ความสำคัญ เนื่องจากจะมีผลถึงลักษณะรูปร่างของสะพาน ความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้าง และความแข็งแรงของโครงสร้างในสภาวะใช้งาน วิศวกรและผู้ปฏิบัติงานควรจะมีประสบการณ์และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จุดที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการควบคุมการก่อสร้าง ของสะพาน มี 2 จุด ที่สำคัญดังนี้
1. Traveller แบ่งเป็นแต่ละช่วงการทำงานดังนี้
- ขั้นตอนการติดตั้ง ควรตรวจสอบตำแหน่งของ Tie Down ต่างๆ การยึดโยงกันเซ (Bracing) ระดับล้อ ระดับราง ชิ้นส่วนหิ้ว (Hanger) แบบหล่อต่างๆ
- ขั้นตอนการหล่อชิ้นส่วน ควรตรวจสอบระดับการหล่อตามแบบที่ให้ระดับไว้ ตาม Casting Curve
- ขั้นตอนการเลื่อน ควรตรวจสอบว่า ได้ยึดรางอย่างถูกต้องเพียงพอและได้ถอดชิ้นส่วนแบบให้หลุดพ้นจากคอนกรีตเดิม ก่อนทำการเลื่อน
ในทุกขั้นตอนจะต้องมีรายการตรวจสอบ (Check List) เพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติครบทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง
2. ระดับ ของสะพาน การคำนวณระดับของสะพานถึงจะคำนวณโดยละเอียดแล้ว แต่ในสภาพจริงอาจไม่ตรงกับสมมติฐานที่ใช้ การวัดระดับตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนจึงเป็นข้อมูลที่สำคัญ เพื่อใช้ในการปรับแก้ค่าสมมุติฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อให้ระดับของสะพานให้ มีรูปร่างตามที่ต้องการ
รายละเอียดของแบบก่อสร้าง (Detailing)
การให้รายละเอียดตำแหน่งของลวด จะต้องพิจารณาประกอบไปกับช่องเปิดท่อ (Sleeve) ต่างๆ ซึ่งจะมีไว้สำหรับการยึด Traveller และเหล็กเสริมต่างๆ โดยเฉพาะในแนว Web ที่อาจจะมาตัดกับแนวลวดได้

สะพาน โกลเดนเกต สิ่งมหัศจรรย์ของโลก มีอายุครบรอบ 75 ปีแล้ว


เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 1937 สะพาน โกลเดนเกต ได้เปิดตัวต่อสาธารณะชนเป็นครั้งแรก ให้ผู้คนสามารถขับรถ, เดิน หรือขี่จักรยานผ่าน จากเมืองซานฟรานซิสโกทางตอนเหนือไปยังเขตปกครองมาริน ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีรถจำนวนกว่า 110,000 คันข้ามผ่านสะพานแห่งนี้ทุกวัน

โดย สะพาน โกลเดนเกต เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ถือได้ว่าเป็น สะพานแขวนที่มีความยาวมากที่สุด โดยตอนกลางสะพานจะยาว 1,280 เมตร กว้าง 27 เมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล 67 เมตร และถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีภาพถ่ายมากที่สุดในโลก โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่เพิ่งผ่านมา สะพานแห่งนี้ได้มีอายุครบ 75 ปีพอดี ซึ่งก็ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ โดย สะพาน โกลเดนเกต หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็น สะพานสีแดงที่มีความโดดเด่น และถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก โดยในช่วงยุคปลาย 1800 วิธีเดียวที่จะข้ามโกลเดนเกตได้คือ เรือข้ามฟากเฟอร์รี่ เท่านั้น ซึ่งก็สงวนไว้กับชนชั้นสูงในท้องถิ่น จนเมื่อเริ่มปลายยุค 1860 เริ่มมีการพูดถึงการสร้างสะพาน และในปี 1872 ชาร์ลส์ คร็อกเกอร์ นักธุรกิจทางรถไฟที่รำรวยและมีอิทธิพล ได้กล่าวกับผู้ดูแลเขตปกครองมาริน ถึงแผนและค่าใช้จ่ายที่ได้เตรียมไว้สำหรับการสร้างสะพานแขวนที่จะครอบคลุมช่องแคบและสามารถขนย้ายผู้โดยสารได้ แต่ถูกละทิ้งไป จนในปี 1916 สิบปีหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างในเมืองซานฟรานซิสโก James Wilkins ได้มีการนำเสนอการออกแบบสะพานข้ามช่องแคบ แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ความสนใจถูกหันเหไปที่อื่น โดย สะพาน โกลเดนเกต สร้างขึ้นในสมัยประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ เมื่อปี 1933 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 1937 ซึ่งใช้งบประมาณในการก่อสร้างราว 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยถูกออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยทีมวิศวกรชื่อดังชาวอเมริกัน โจเซฟ สเตราส์, เออร์วิ่ง มอร์โรว์ และชาร์ลส์ เอลลิส

TAIPEI 101










สารคดี การสร้างคลองปานามา





วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

Cubic Houses



บ้านลูกเต๋านี้ถือว่าคงเป็นสถาปัตยกรรมแปลกตาดีแท้ๆ ผู้ออกแบบตึกทรงประหลาดนี้ก็คือนาย Piet Blom ที่ได้ทำการออกแบบโดยมีไอเดียที่ต้องการสร้างบ้านให้เป็นลักษณะของป่าและออกแบบในเชิงลักษณะของ Abstract และที่ทำเอาฉันประหลาดใจในหนแรกที่มาเห็นตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ คือบ้านที่สร้างมาขำๆ นี้ เป็นบ้านที่อยู่อาศัยได้จริงๆ ด้วย มิใช่แต่เพียงนำมาโชว์เท่านั้น ส่วนลักษณะของภายในบ้านฉันเองยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปดู แต่คาดว่าเร็วๆ นี้น่าจะมีโอกาสได้เข้าไปดูด้านในว่าเป็นยังไง แต่งานนี้ต้องเสียเงิน 3 ยูโรซะก่อน ถึงจะขึ้นไปดูได้ เพราะส่วนกลางเค้าจัดให้มีห้องหนึ่งที่ถือว่าเป็นห้องสำหรับการเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งเมื่อก่อนนี้ต้องเข้าไปดูภายในบ้านของคนอยู่อาศัยจริง แต่เมื่อมีคนเข้าไปเยี่ยมชมมากเข้า เลยเป็นการรบกวนไป ทีนี้พอมีห้องว่างก็เลยจัดการทำเป็นห้องว่างและคนเข้ามาเยี่ยมชมได้เลย เพื่อนไกด์ของฉันบอกว่า เข้าไปข้างบน พื้นบ้านก็มีลักษณะธรรมดาแต่ว่าลักษณะตัวบ้าน มันก็เอียงจากปกติไปก็เท่านั้นเอง ... อือม์ แปลกดี


ชั้นสองก่อนจะขึ้นไปตัวบ้านแต่ละหลัง





ปิดท้ายการเดินคงไม่พ้นการเข้าไปนั่งกินอะไรนิดหน่อย พร้อมทั้งเดินช้อปปิ้งด้วยสายตา ... ช้อปปิ้งลักษณะนี้ก็ดีน๊า ได้ดูของงามๆ แต่ว่าไม่หมดเงิน ฮ่า ฮ่า .. แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือว่า ไม่มีบั๊ดเจ็ดสำหรับการซื้อของสำหรับเที่ยวเล็กๆ นี่อ่ะซี่ เรื่องของเรื่อง เลยไม่ได้ซื้ออะไรติดมือมาสักอย่าง เนนกิน และการเหล่หนุ่ม แค่นี้ก็สร้างความสุขเหลือร้ายได้เยอะเลยล่ะ ...

การจำลองกาติดต้องแล้วการเพิ่มความสูงของทาวเวอร์เครน

เรามาดูคลิปวีดีโอ จำลองการติดตั้ง Tower Crane กันก่อนครับ ลองดูขั้นตอนการติดตั้งโครงสร้างเครน เพิ่มความสูง ซึ่งยกติดตั้งด้วยตัว tower crane เอง

10 อันดับโรงแรมที่แปลกที่สุดในโลก

ถ้าคุณกำลังเจอปัญหากับบริการเดิมๆ การตกแต่งหรือตึกหน้าตาเดิมๆเวลาไปพักผ่อนตามโรงแรมต่างๆ โรงแรม 10 อันดับ ต่อไปนี้คือที่ๆเราขอแนะนำแบบสุดๆสำหรับนักท่องเที่ยวแบบคุณ แต่ละที่จะมีการตกแต่งที่ไม่เหมือนใคร คุณจะได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่แน่นอน นี่คือ 10 อันดับ สุดยอดโรงแรมแปลกทั่วโลก ชอบโรงแรมไหนเลือกได้เลย

10. Wagon Stays.อีกหนึ่งที่พักที่น่าสนใจในนิวซีแลนด์อยู่ที่เมือง Christchurch แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า คุณสามารถพักอยู่บนรถม้าที่มีพร้อมทั้งห้องน้ำ ห้องครัว และทีวีดาวเทียม โรงแรมนี้ให้บรรยากาศที่พักบนรถม้าที่ผสมกับความทันสมัยอย่างลงตัว เพื่อความสุขของแขกที่มาพักทุกคน



9. Out ‘n’ About Treesort & Treehouse Institute

เพียงแค่ออกจากเมือง Cave Junction,
Oregon มานิดเดียว โรงแรมนี้เสนอบ้านพักสุดหรูที่คุณฝันไว้ในวัยเด็กเพียง 18 หลัง แต่ละหลังมีทั้งห้องน้ำและตู้เย็น บางหลังสูงจากพื้นดินถึง 300 ฟุต ไม่มีอะไรดีไปกว่าการพักผ่อนสบายในวันหยุดบนบ้านต้นไม้อีกแล้ว


8. Hobbit Motel
โรงแรม Hobbit นี้ตั้งอยู่ที่ WoodlynPark นิวซีแลนด์ โดยเหมือนกับบ้านที่เหล่า Hobbit จากเรื่อง Lord of The Rings อยู่ คุณสามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศอันสงบสุขของเหล่าฮอบบิทในนิยายยอดฮิตของ J.R.R. Tolkien ได้ที่นี่



7.
Cappadocia Hotelสำหรับโรงแรมนี้ก็ยังคงอยู่ที่ตรุกีเช่นกัน โรงแรมนี้สร้างโดยการขุดเข้าไปบนหน้าผาของภูเขา Yunak Evleri ห้องพักแต่ละห้องออกแบบมาเป็นถ้ำเหมือนในการ์ตูนฟลิ้นสโตน โรงแรมนี้สร้างเสร็จพร้อมกับห้องพักจำนวน 30 ห้องที่พาคุณกลับไปสัมผัสบรรยากาศสมัยยุค 1400 - 1500 ปีก่อน

6. Marmara Antalyaด้วยการผสมผสานระหว่างตุรกีและยุโรป โรงแรมนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Antalya ตุรกี โรงแรมนี้ขึ้นชื่อเรื่องวิวที่สวยงาม การดีไซน์ที่ลงตัว และการบริการที่อบอุ่น จุดเด่นเหนืออื่นใดของโรงแรมนี้ก็คือ ทุกๆห้องพักจะหมุนไปเรื่อยๆแบบช้าๆ เพื่อให้สามารถซึบซับกับวิวสวยงามได้แบบ 360 องศา


4.
DogBarkPark
โรงแรมที่เป็นที่ชื่นชอบของคนที่รักสุนัขแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมือง Cottonwood รัฐ Idaho
ด้วยรูปร่างของโรงแรมที่ถอดแบบมาจากเจ้าสุนัขพันธุ์บีเกิ้ล แขกที่มาพัก สามารถเข้าไปในตัวเจ้าบีเกิ้ลนี้จากทางเข้าที่อยู่ตรงระเบียงชั้น 2 การตกแต่งภายในนั้นออกแบบมาให้ลงตัวกับรูปแบบของโรงแรมนี้โดยเฉพาะ


3. The Harbour Crane
โรงแรมนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Harlingen ห่างจากเมือง Amsterdam

เพียง 1 ชั่วโมง โดยห้องพักของคุณจะลอยอยู่เหนือพื้นสูงขึ้นไปบนห้องควบคุมเครนขนาดยักษ์ และคุณยังสามารถควบคุมเครนนี้ได้ทุกอย่างจากภายในห้องพักของคุณ

2. The Daspark hotelที่นี่อาจจะดูไม่สะดวกสบายนัก แต่โรงแรม Daspark คือการปฏิวัติรูปแบบที่พักใหม่ที่ผู้คนมากมายเริ่มชื่นชอบ โรงแรมนี้มีอยู่ที่เมือง Ottensheim ประเทศ Austria ห้องพักของที่นี่สร้างจากท่อระบายน้ำขนาด 10 ตัน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.5 ฟุต ให้คุณได้พักผ่อน



1. The Giraffe Manor
โรงแรม Giraffe Manor คือโรงแรมสุดหรูและพิเศษสุด ตั้งอยู่นอกเมืองไนโรบิ เมืองหลวงของประเทศเคนย่า จุดเด่นของที่นี่ก็คือ มันตั้งอยู่กลางฝูงยีราฟนั่นเอง คุณสามารถดื่มด่ำกับการทานอาหารพร้อมกับหลบคอที่ยืดยาวของยีราฟที่ยื่นเข้ามา และจากเว็บไซต์ของโรงแรม ที่นี่คงเป็นที่เดียวในโลกที่คุณสามารถให้อาหารและถ่ายรูปยีราฟได้จากโต๊ะอาหารเช้าและหน้าห้องพักของคุณ
ที่มา FWD-Mail